กรมการแพทย์ เปิดโครงการ แท็กซี่ FAST TRACK “เจ็บอก...บอกพี่ ส่งถูกที่ ถูกเวลา”

กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--กรมการแพทย์

นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย ปัจจุบันความรุนแรงของโรคในคนไทยสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจรายใหม่เกิดขึ้น 21,700 รายต่อปี “ทุกๆชั่วโมงจะมีคนไทยตายด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจ 2.3 คน หรือวันละ 54 คน” โดยพบว่าประเทศไทยมีอัตราเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 12.6 ขณะที่ต่างประเทศมีอัตราเสียชีวิตเพียงร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ประเทศไทยมีความรุนแรงของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากกว่าใน ต่างประเทศถึง 2 เท่า สาเหตุที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงเพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาช้า ผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลร้อยละ 17 มักมีภาวะช็อค มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงอยู่ที่การเข้ารับการรักษาทันให้เวลาภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังมีอาการ หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาล่าช้าเกินกว่า 12 ชั่วโมง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง กรมการแพทย์ มีหน่วยงานในสังกัดที่ให้บริการบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ตามปณิธาน “Care with Love Cure with Technology : ดูแลด้วยใจ หายได้ด้วยเทคโนโลยี” ผ่าน ช่องทาง สายด่วน Fast Track 1668 ของสถาบันโรคทรวงอก ซึ่งมีทั้งทีมแพทย์และอุปกรณ์ ที่ทันสมัย พร้อมให้บริการอย่างเร่งด่วนที่สุด เพราะแต่ละวินาทีเป็นช่วงวิกฤต ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนา “1668 พร้อมทุกนาที ช่วยชีวีโรคหัวใจ” ขึ้น เป็นการสะท้อนให้ผู้ป่วย ญาติ และประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงการให้บริการในการรักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทั่วถึง “โครงการแท็กซี่ Fast Track“ ครอบคลุมทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายใต้ สโลแกน “เจ็บอก...บอกพี่ ส่งถูกที่ถูกเวลา”เนื่องจากเครือข่ายแท็กซี่ เป็นผู้ที่มีศักยภาพและบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สามารถนำส่งโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องทราบวิธีสังเกตอาการเฉพาะของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและช่องทางเข้ารับการบริการที่เร็วที่สุด อาการบอกเหตุที่สามารถสังเกตได้ คือ หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางเหมือนมีอะไรหนักๆ มากดทับ เจ็บจนทนไม่ไหว เจ็บร้าวไปบริเวณแขนซ้าย คอ ไหล่ หรือมีเหงื่อออกท่วมตัว และเหนื่อยหอบ นานกว่า 20-30 นาที เป็นสัญญาณวิกฤตที่ผู้ป่วยต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ด้านนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานชุมนุมสหกรณ์บริการเดินรถแห่งประเทศไทยและประธานศูนย์วิทยุ กล่าวว่า การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแท็กซี่ Fast Track กับโครงการสายด่วน 1668 พร้อมทุกนาที ช่วยชีวีโรคหัวใจ ของผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ (แท็กซี่) เห็นว่าเป็นโครงการฯ ที่ดีมีประโยชน์ ด้วยจำนวนของผู้ขับแท็กซี่ในส่วนของ กทม.ซึ่งมีจำนวน กว่า20,000 คัน และมีผู้ขับขี่มากกว่า 100,000 คน เชื่อแน่ว่าจะมีศักยภาพมากพอในการเป็นอาสาสมัครส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจนถึงโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันเวลา โดยไม่คำนึงถึงว่าในขณะนั้นจะได้ค่าโดยสารหรือไม่ แต่มองว่าเป็นความภาคภูมิใจมากกว่า ที่ได้ช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย ให้รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยในขณะนั้น ส่วนคุณไจตนย์ ศรีวังพลหรือที่ผู้ขับขี่แท็กซี่ส่วนใหญ่เรียกว่า “พี่เล็ก” นักจัดรายการชื่อดัง คลื่นวิทยุสวพ.91 กล่าวว่า ทาง สวพ.91 มีความยินดีที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ และยินดีที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการกระจายข่าวของโครงการ สายด่วน Fast Track 1668 ให้เป็นอีกหนึ่งหมายเลขที่ผู้คนจะจดจำ และพร้อมเป็นช่องทางให้บริการที่เชื่อม สวพ.91 กับเครือข่ายอื่นๆ ในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย รวม 3 แนวทาง คือ 1.แนะนำสายด่วน 1668 พร้อมทุกนาที ช่วยชีวีโรคหัวใจ ผ่าน สวพ.91 2.ประสานขอเส้นทางขณะที่แท็กซี่ Fast Track นำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล กรณีมีปัญหาจราจร 3.เชิญชวนให้ผู้ขับขี่แท็กซี่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายแท็กซี่ Fast Trackให้มากที่สุด สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรคหลอดเลือดหัวใจ+เรวัต วิศรุตเวชวันนี้

กรมการแพทย์ เปิดโครงการ แท็กซี่ FAST TRACK “เจ็บอก...บอกพี่ ส่งถูกที่ ถูกเวลา”

นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย ปัจจุบันความรุนแรงของโรคในคนไทยสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจรายใหม่เกิดขึ้น 21,700 รายต่อปี “ทุกๆชั่วโมงจะมีคนไทยตายด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจ 2.3 คน หรือวันละ 54 คน” โดยพบว่าประเทศไทยมีอัตราเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 12.6 ขณะที่ต่างประเทศมีอัตราเสียชีวิตเพียงร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ประเทศไทยมีความรุนแรงของโรคหัวใจขาดเลือด

ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary ... CT CALCIUM SCORE การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ — ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผ...

รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่... รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่ต้องผ่าตัด — รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่ต้องผ่าตัด ที่ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง กับโรงพยาบาลรามคำแหง โ...

"โรคเบาหวาน" เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากถึง 1... ตรวจไว้ให้เบาใจ ปลอดภัยจากเบาหวาน กับโรงพยาบาลหัวเฉียว — "โรคเบาหวาน" เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากถึง 1 ใน 10 ของประชากรไทย โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเ...

MedAlliance ประกาศรับผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการศึกษาเซลูชัน เดอโนโว ได้กว่า 1,660 คนแล้ว

MedAlliance ประกาศรับผู้ป่วยเข้าร่วมเป็นจำนวนมากกว่า 1,660 คนแล้ว ในโครงการศึกษาโรคหลอดเลือดหัวใจแบบสุ่มที่ก้าวล้ำ เซลูชัน เดอโนโว (SELUTION DeNovo) ขณะนี้กระบวนการรับผู้ป่วยดำเนินมาถึงครึ่งทางแล้วจากจำนวนที่วางแผน...

ผลวิจัยเผย ตัวแปรในจีโนมที่ทำปฏิกิริยากันเองและกับสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

คณะนักวิทยาศาสตร์จาก ดีโค้ด เจเนติกส์ (deCODE genetics) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (Amgen) รวมถึงผู้ร่วมงานจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศไอซ์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยแพร่ผลการศึกษา...

MedAlliance ประกาศรับผู้ป่วยรายแรกในโครงการ LOVE-DEB เพื่อศึกษาบอลลูนเคลือบยาเซลูชัน เอสแอลอาร์ ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

โครงการศึกษาโรคหลอดเลือดหัวใจขนาดใหญ่ที่เกิดครั้งแรกด้วยการรักษาโดยใช้เซลูชัน เอสแอลอาร์ (SELUTION SLR(TM)) ในสหราชอาณาจักร ได้รับผู้ป่วยรายแรกเข้าร่วมโครงการแล้ว โดยเป็น...

แม้ความก้าวหน้าในการรักษาและการเข้าถึงเทค... รักษาสุขภาพหัวใจในทุกช่วงชีวิต — แม้ความก้าวหน้าในการรักษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีจะมากขึ้น แต่ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อ...