ซานดิเอโก--17 พ.ย.--พีอาร์นิวสไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ผลการทดสอบผู้ป่วยด้วย VerifyNow System P2Y12 Test บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
แอคคิวเมตริกส์ อิงค์ (Accumetrics, Inc.) ผู้พัฒนาและจำหน่าย VerifyNow(R) System ประกาศผลการศึกษา GRAVITAS (Gauging Responsiveness With A VerifyNow Assay-Impact On Thrombosis And Safety) ซึ่งพบว่า การเพิ่มปริมาณยา clopidogrel ขึ้น 2 เท่าในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดสูงนั้น ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันหลังเข้ารับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention หรือ PCI) แต่อย่างใด นอกจากนี้ รายงานการศึกษาดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดสูงจากผลการทดสอบของ VerifyNow P2Y12 นั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเกล็ดเลือดสูงถึงเกือบ 2 เท่า ทั้งนี้ ระบบ VerifyNow P2Y12 Test ถูกนำไปใช้เพื่อประเมินผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านเกล็ดเลือดในกลุ่มยา clopidogrel หรือยา prasugrel (Plavix(R) และ Effient(R)) ที่ช่วยลดปฏิกิริยาตอบสนองเกล็ดเลือดด้วยการยับยั้งตัวรับเกล็ดเลือดจากยาต้าน P2Y12
นายแพทย์แมทธิว เจ. ไพรซ์ (Matthew J. Price, MD) แพทย์จากสถาบัน Scripps Translational Science Institute and Scripps Clinic ในเมืองลาโฮย่า รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการศึกษา GRAVITAS นำเสนอผลการศึกษาดังกล่าวในระหว่างการประชุม American Heart Association Scientific Sessions Late-Breaking Clinical Trials ในกรุงชิคาโก “ผลการศึกษา GRAVITAS ไม่ได้สนับสนุนแนวทางการเพิ่มปริมาณยา clopidogrel ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดสูง เมื่อวัดผลจากการทดสอบกลไกการทำงานของเกล็ดเลือดเพียงอย่างเดียวหลังจากที่ได้ใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบนี้มีความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันแพทย์หลายท่านใช้วิธีเพิ่มปริมาณยา clopidogrel ขึ้น 2 เท่าในช่วงเช้าภายหลังขั้นตอนของการใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด ” น.พ. ไพรซ์ กล่าว “ดังนั้น การค้นหาแนวทางหรือทดลองใช้วิธีการรักษาผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ๆ โดยพิจารณาจากการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองเกล็ดเลือดที่แตกต่างกันไปจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละคน”
“การศึกษา GRAVITAS เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดสูง หรือบางครั้งหมายถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการตอบสนองต่อยาต้านเกล็ดเลือด กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบในกลุ่มผู้ที่ไม่แสดงอาการตอบสนองต่อยาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งสอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้” ดร.เจฟฟรีย์ อาร์ ดาห์เลน (Jeffrey R. Dahlen, PhD) รองประธานฝ่ายกิจการคลินิกและควบคุมดูแลของแอคคิวเมตริกส์ กล่าว “ในระหว่างที่เราเดินหน้าวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม เราหวังว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลใหม่ๆ ที่จะมาสนับสนุนผลการทดสอบกลไกการทำงานของเกล็ดเลือดต่อไป”
“การศึกษา GRAVITAS มีส่วนช่วยให้แอคคิวเมตริกส์รักษาสถานะความเป็นผู้นำด้านการตรวจรักษาโรคที่ทุ่มเทเพื่อทำความเข้าใจที่ดีขึ้นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย” ทิโมธี ไอ. สติลล์ (Timothy I. Still) ประธานและซีอีโอของแอคคิวเมตริกส์ กล่าว “การทดสอบครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการประเมินอาการตอบสนองของผู้ป่วยที่มีต่อการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือดเพื่อให้แพทย์พิจารณาแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการแตกต่างกัน”
ผลิตภัณฑ์ VerifyNow System ของแอคคิวเมตริกส์ เป็นระบบตรวจวัดการตอบสนองของผู้ป่วยที่มีต่อยาต้านเกล็ดเลือดเครื่องแรกที่ใช้ง่ายและรู้ผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในคลินิกต่างๆ ที่มีการจ่ายยาต้านเกล็ดเลือดเพื่อลดโอกาสการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง ยา Clopidogrel เป็นยาต้านเกล็ดเลือดชนิดรับประทานซึ่งมีวางจำหน่ายในชื่อ Plavix
เกี่ยวกับการศึกษา GRAVITAS
แนวคิดเรื่องความแปรปรวนของการตอบสนองต่อยาต้านเกล็ดเลือดเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็มีการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดสูงกับผลลัพธ์ในแง่ลบที่เกิดกับผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แอคคิวเมตริกส์ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดทำโครงการศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่แสดงอาการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือดในเชิงลบ การศึกษา GRAVITAS เป็นการศึกษาครั้งแรกที่เกิดจากการร่วมมือกันของหลายศูนย์และใช้ยา placebo (ยาที่มีผลต่อจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา) เป็นตัวควบคุมเพื่อทดสอบว่า การเพิ่มปริมาณยา clopidogrel ในการรักษาซึ่งอ้างอิงผลจาก VerifyNow System P2Y12 จะสามารถลดการเกิดผลข้างเคียง หลังการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (PCI) ได้หรือไม่ ทั้งนี้ การทดสอบนี้มีการประสานกับ Scripps Advanced Clinical Trials
เกี่ยวกับ แอคคิวเมตริกส์
แอคคิวเมตริกส์ ทุ่มเทให้กับการทำความเข้าใจระบบการทำงานของเกล็ดเลือดและพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด ด้วยการผลิตอุปกรณ์ทดสอบที่มีคุณภาพสูงและสามารถหาซื้อได้ง่าย ซึ่งจะช่วยให้การประเมินการทำงานของเกล็ดเลือดเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ
VerifyNow System ของแอคคิวเมตริกส์ เป็นระบบตรวจวัดการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาต้านเกล็ดเลือดที่ใช้ง่ายและรู้ผลได้อย่างรวดเร็ว โดย VerifyNow System สามารถตรวจวัดยาต้านเกล็ดเลือดได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นยาต้าน P2Y12 (เช่น ยา prasugrel (Effient(R)) และยา clopidogrel (Plavix) หรือยาต้าน GP IIb/IIIa (เช่นยา ReoPro(R) และ Integrilin(R)) ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจทำการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทและผลิตภัณฑ์ของบริษัท สามารถเข้าชมได้ที่http://www.accumetrics.com
โลโก้ Accumetrics และ VerifyNow เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Accumetrics, Inc. ส่วน ReoPro เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Centocor, Inc. ในขณะที่ Integrilin เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Millennium Pharmaceuticals ส่วน Plavix เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Sanofi-Aventis และ Effient เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Eli Lilly and Company
ติดต่อ:
เมแกน รัสแน็ก
Lippert/Heilshorn & Associates
โทร: +1-212-838-3777
อีเมล: [email protected]
หรือ
ทิโมธี ไอ. สติลล์
ประธานและซีอีโอของแอคคิวเมตริกส์
โทร: +1-858-404-8260
อีเมล: [email protected]
แหล่งข่าว: แอคคิวเมตริกส์ อิงค์
ติดต่อ: เมแกน รัสแน็ค จาก Lippert/Heilshorn & Associates โทร: +1-212-838-3777
อีเมล: [email protected] หรือ ทิโมธี ไอ. สติลล์ ประธานและซีอีโอของแอคคิวเมตริกส์
โทร: +1-858-404-8260 อีเมล: [email protected]
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผนังหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หากผลการตรวจระบุคราบหินปูนสะสมในปริมาณสูง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงแข็ง นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ Calcium Score เกิดจากอะไร การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามธรรมชาติในผู้ป่วยแต่ละราย
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่ต้องผ่าตัด
—
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่ต้องผ่าตัด ที่ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง กับโรงพยาบาลรามคำแหง โ...
หญิงวัยหมดประจำเดือน เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
—
"โดยปกติผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจตีบมากกว่าผู้หญิงในวัยอื่น และเพ...
เจ็บหน้าอกแบบไหน? ใช่สัญญาณเตือน "หลอดเลือดหัวใจตีบ"
—
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จนกระทั่งหลอดเลือดเริ่มตีบมากขึ้น กล้ามเนื้อหัว...
ตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แล้วที่โรงพยาบาลธนบุรี 2
—
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่องอาการที่สังเกตได้ คื...
หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว
—
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกแรง เมื่อได้พักอาการก็จะหายไป หรือ...
แพคเกจการตรวจสุขภาพหลอดเลือด ด้วย PVR (Pulse volume recoding) วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563
—
โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญท่านเข้ารับการตรวจวิเคราะห์หลอดเลือดแดง ด้...