มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนา “นโยบายด้านบุคลากรเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย”

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ขจรปรีดานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เครื่องมือแพทย์ได้ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลจำนวนมหาศาล มีหลากหลายชนิดและประเภทของการนำมาใช้งาน และวิธีการที่นำมาใช้จากง่ายไปถึงยุ่งยากและซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นระบบ เพื่อระดมความคิด และร่วมกันหาแนวทางในการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นระบบครบวงจรและเป็นสากล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมอุปกรณ์การแพทย์ไทย สมาคมวิจัยวิศวกรรมการแพทย์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย จัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “นโยบายด้านบุคลากรเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย” ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องกรุงธนบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ หัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ “วิสัยทัศน์ของประเทศไทยด้านอุปกรณ์การแพทย์ในบทบาทของ Asian Medical Hub เน้นในแง่บุคลากร” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, “คนกับเครื่องมือแพทย์ในระบบคุณภาพโรงพยาบาล” โดย นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ โทร.๐-๒๔๔๑-๙๓๕๐ www.thaibmi.org

ข่าวสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล+โรงพยาบาลจำนวนมหาศาลวันนี้

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนา “นโยบายด้านบุคลากรเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ขจรปรีดานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เครื่องมือแพทย์ได้ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลจำนวนมหาศาล มีหลากหลายชนิดและประเภทของการนำมาใช้งาน และวิธีการที่นำมาใช้จากง่ายไปถึงยุ่งยากและซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นระบบ เพื่อระดมความคิด และร่วมกันหาแนวทางในการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นระบบครบวงจรและเป็นสากล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โม

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถา... งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" — ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ...

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพ... ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย — สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศ... ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน — โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...

เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท... ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ — เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...

กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้อ... ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA" — กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...

ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์ม... ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก — ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...