กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--เอซี นีลเส็น(ประเทศไทย)
ผลการสำรวจออนไลน์จาก 47 ประเทศชิ้นล่าสุดที่เอซีนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำ ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบโฆษณาต่างๆทั้งหมด 13 รูปแบบตั้งแต่รูปแบบโฆษณาแบบดั้งเดิมทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ จนถึงเว็บไซด์ของสินค้าและความคิดเห็นจากผู้บริโภค พบว่า แม้ว่ารูปแบบโฆษณาในปัจจุบันจะมีรูปแบบและแหล่งของโฆษณาใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ผู้บริโภคทั่วโลกก็ยังคงมีระดับความเชื่อที่สูงที่สุดต่อความคิดเห็นจากผู้บริโภคคนอื่น หรือปากต่อปากในการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการ
นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ เอซีนีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า ”แม้ว่านักโฆษณาทั่วโลกสามารถเข้าถึงผู้บริโภคโดยผ่านรูปแบบของสื่อใหม่ๆที่เพิ่มมากขึ้น คำแนะนำจากบุคคลอื่นก็ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุดเมื่อผู้บริโภคทำการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ และถึงแม้ว่าเทคโนโลยี่ทางสื่อแบบใหม่กำลังมีบทบาทที่สำคัญในสังคมที่เป็นสากล การตัดสินใจซื้อต่างๆก็ยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติของวัฒนธรรมและชนชาตินั้นๆอย่างเหนียวแน่น นอกจากนี้ เรายังพบว่าไม่มีอะไรที่จะเร็วไปกว่าข่าวร้าย โดยการบอกต่อของประสบการณ์ร้ายๆ มีตัวเลขที่มากกว่าการบอกต่อเกี่ยวกับการบริการที่ดีมากถึงอัตรา 5:1 ดังนั้นฝ่ายบริการลูกค้าที่มีคุณภาพสูงและตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็วจึงเป็นจุดที่สำคัญมาก
จากผลการสำรวจของนีลเส็นพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (51%) กล่าวว่าพวกเขาเชื่อการโฆษณา ส่วนผู้ที่เชื่อโฆษณามากที่สุดในทุกรูปแบบของโฆษณาทุกประเภทโดยรวมได้แก่ ชาวฟิลิปปินส์ และชาวบราซิล (67%) ในขณะที่ผู้บริโภคใน เดนมาร์ก (28%) อิตาลี่ (32%) ลิทัวเนีย(34%) เยอรมัน (35%) เป็นประเทศที่เชื่อในการโฆษณาน้อยที่สุด
ห้าอันดับแรกที่เชื่อในการโฆษณา ห้าอันดับสุดท้ายที่เชื่อในการโฆษณา
1. ฟิลิปปินส์ (67%) 1.แลทเวีย (38%)
2. บราซิล (67%) 2. เยอรมัน (35%)
3. เม็กซิโก (64%) 3. ลิทัวเนีย (34%)
4. แอฟริกาใต้ (64%) 4. อิตาลี่ (32%)
5. ไต้หวัน ( 63%) 5. เดนมาร์ก (28%)
หากจัดกลุ่มความน่าเชื่อถือในรูปแบบโฆษณาต่างๆในประเทศไทยนั้นพบว่า การแนะนำจากบุคคลอื่นหรือ คำแนะนำแบบปากต่อปากนั้นจัดอยู่ในลำดับที่หนึ่ง โดยมีผู้บริโภคชาวไทยจำนวนแปดสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์เปิดเผยว่า พวกเขาเชื่อสิ่งที่พวกเขาได้ยินมาจากบุคคลอื่นมากที่สุด ลำดับต่อมาคือสื่อในรูปแบบดั้งเดิมเช่น โทรทัศน์ (66%) หนังสือพิมพ์ (62%) และนิตยสาร (59%) ตามลำดับ ส่วนป้ายโฆษณาออนไลน์ (32%) และโฆษณาทางโทรศัพท์มือถือ (29%) ได้รับความเชื่อถือน้อยที่สุด (ตารางที่ 1) นางจันทิรากล่าวเสริมว่า “ นี่ถือเป็นเรื่องที่ดีของนักโฆษณาที่ยังคงลงทุนในโฆษณาผ่านสื่อแบบดั้งเดิมในเมืองไทย ”
ในขณะที่รูปแบบใหม่ทางโฆษณาอย่างเช่นอินเตอร์เน็ตกำลังเริ่มที่จะตามสื่อแบบดั้งเดิมทันในแง่ของรายได้ของการโฆษณา การโฆษณาแบบดั้งเดิมยังคงเป็นช่องทางที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนมากที่สุดทั่วโลก โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ถูกจัดอยู่ในลำดับที่สองจากประเภทของสื่อโฆษณาทุกประเภทในระดับที่ 63 ในขณะที่ โทรทัศน์ นิตยสาร วิทยุ อยู่ที่ระดับสูงกว่าห้าสิบเปอร์เซ็นต์ โดยระดับความนิยมของโฆษณาประเภทนี้พบมากใน ละติน อเมริกา แต่ได้รับความนิยมน้อยมากในแถบยุโรบตะวันออก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ถึงแม้ว่าคำแนะนำจากบุคคลอื่นจะได้รับความเชื่อถือมากที่สุดจากรูปแบบของโฆษณา จากผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกในระดับ 78% นีลเส็นยังคงพบความแตกต่างของแต่ละชาติและถูมิภาคเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิเช่น ปากต่อปาก ได้รับระดับความเชื่อถืออย่างมากในกลุ่มเอเชีย แปซิฟิค โดยพบว่าเจ็ดในสิบอันดับแรกที่เชื่อถือคำแนะนำจากบุคคลอื่นอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง (93%) ไต้หวัน (91%) อินโดนีเซีย (89%) อินเดีย (87%) เกาหลีใต้ (87%) ฟิลิปปินส์ (86%) และ นิวซีแลนด์ (83%) ในขณะที่ชาวยุโรป โดยทั่วไปดูเสมือนว่าจะเชื่อสิ่งที่พวกเขาได้ยินมาจากคนอื่นน้อยที่สุดโดยเฉพาะ ผู้บริโภคในเดนมาร์ก (62%) และอิตาลี่ (64% )
ความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นของผู้บริโภคที่อยู่ออนไลน์ ถูกจัดอยู่ในลำดับที่สามของโลก (61%) โดยได้รับความนิยมอย่างสูงในอเมริกาเหนือ (66%) และ เอเชีย (62%) ตามลำดับ หากดูระดับความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นของผู้บริโภคที่พบบนออนไลน์ เช่นบล็อก ในแต่ละประเทศพบว่า ประเทศที่เชื่อถือมากที่สุดได้แก่ เกาหลีใต้ (81%) ไต้หวัน (76%) และอินเดีย (73%) ขณะที่ระดับคะแนนต่ำสุดที่ฟินแลนด์ (35%) ในประเทศไทยพบว่าผู้บริโภคประมาณห้าสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ คิดว่าความคิดเห็นของผู้บริโภคที่พบบนออนไลน์จัดเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit