มูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากลเผยผลการศึกษาชี้ปัญหาเรื่องการยึดมั่นในการรักษาโรคกระดูกพรุนทั่วโลกทำให้ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงและทำให้เกิดต้นทุนหลายพันล้านดอลลาร์

เวียนนา,ออสเตรีย--22 พ.ค.--พีอาร์นิวส์วไร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์


-- พร้อมภาพ

--มูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากล และบริตท์ เอ็คแลนด์ ดาราภาพยนตร์ เรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเร่งด่วนด้วยการใช้แคปเปญ The Staying Power

ไม่ใช่เพื่อเผยแพร่ในเดนมาร์ก ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา

รายงานใหม่จากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากล (IOF) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนส่วนบุคคล ต้นทุนทางสังคม และต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กันและมีนัยสำคัญทั่วโลกเป็นครั้งแรก ซึ่งรายงานเหล่านี้เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการบำบัดรักษาโรคกระดูกพรุน

(ภาพ: http://www.newscom.com/cgi-bin/prnh/20060522/213166 )

ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่หยุดการบำบัดรักษารายสัปดาห์ภายในระยะเวลา 1 ปี ทำให้คนเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะกระดูกหักและทำให้เงินในระบบการรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงแคมเปญ The Staying Power: Closing the Adherence Gap in Osteoporosis ของ IOF ซึ่งพยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงภาระที่แท้จริงของการไม่ยึดมั่นในการบำบัดรักษา

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการไม่ยืนหยัดในการบำบัดรักษา

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เป็นกันในวงกว้าง ซึ่งส่งผลกระทบกับผู้หญิง 1 ใน 3 คน และผู้ชาย 1 ใน 5 คน โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ แต่ถึงกระนั้นการขาดการยึดมั่นในการรักษาก็จะเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งผู้ป่วยจำนวนมากพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้ เนื่องจากมีผู้หญิงไม่ถึง 1 ใน 3 คนซึ่งมีประวัติกระดูกหักจะสามารถฟื้นตัวจากระดับการเคลื่อนไหวในช่วงก่อน และกว่า 1 ใน 3 จะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ รายงานยังบ่งชี้ถึงผลกระทบทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ โดยในทวีปยุโรปเพียงแห่งเดียวนั้น ต้นทุนการรักษาโรคกระดูกพรุนในสถานพยาบาลในขณะนี้มีอยู่กว่า 4.8 พันล้านยูโรต่อปี นอกเสียจากว่าอัตราการเกิดภาวะกระดูกหักที่ช่วยลดต้นทุนจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ในผู้หญิงกว่า 45 คนนั้น โรคกระดูกพรุนทำให้ผู้หญิงใช้เวลาในการอยู่โรงพยาบาลมากกว่าโรคอื่นๆอีกหลายโรค ซึ่งรวมถึงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งเต้านม

ต้นทุนทางเศรษฐกิจในยุโรปที่บานปลายมีแนวโน้มแพร่หลายไปทั่วโลก

รายงานเกี่ยวกับ แคมเปญ The Staying Power ทำขึ้นจากรายงานของ IOF ในปี 2548 คือ เรื่อง The Adherence Gap: Why Osteoporosis Patients Don't Continue with Treatment ซึ่งระบุถึงภาวะขาดการยึดมั่นในการบำบัดรักษาในประเทศขนาดใหญ่ 5 ประเทศในยุโรป รายงานฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการไม่ยึดมั่นในการบำบัดรักษาในยุโรปมีแนวโน้มแพร่หลายไปทั่วโลก

  • ภายในปี 2593 นี้ คาดว่าภาระต้นทุนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 1.06 แสนล้านยูโร (1.315 แสนล้านดอลลาร์)

คณะแพทย์ชาวบราซิลมากกว่าครึ่งที่ตอบคำถามในการสำรวจครั้งใหม่รวมทั้งในเอกสาร ประมาณว่าค่าใช้จ่ายแต่ละปีในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่เกี่ยวข้องกับกระดูกที่แตกมากกว่า 81 ล้านยูโร (100 ล้าน ดอลลาร์) (10)

ในอังกฤษค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคกระดูกพรุนในแต่ละปีอยู่ที่ระหว่าง 2.2-2.6 พันล้านยูโร (1.5-18 พันล้านปอนด์) (11)

ในสเปนมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่กระดูกแตกหรือหัก 25,000 รายทุกปี ทำให้การรักษาโดยตรงเป็นเงินจำนวนมากกว่า 126 ล้าน ยูโร และค่าใช้จ่ายทางอ้อม 420 ล้านยูโร (12)

ระหว่างปี 2544-2546 มีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในสหรัฐประมาณ 2.39 ล้านคน ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินประกันสุขภาพเป็นเงิน 1 หมื่นล้านยูโร (1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) (13)

ในออสเตรเลียผู้ป่วยจากโรคกระดูกและกล้ามเนื้อใช้จ่ายเป็นเงินรวมประมาณ 1.8 พันล้านยูโร (3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย)

การเปิดตัวแคมเปญสเตย์อิ้ง พาวเวอร์

บริทท์ เอ็คแลนด์ นักแสดงภาพยนตร์ระดับนานาชาติ ผู้ซึ่งป่วยด้วยอาการโรคกระดูกพรุน ได้เข้าเป็นตัวแทนของไอโอเอฟวันนี้ที่เวียนนาเพื่อร่วมเปิดตัวโครงการ สเตย์อิ้ง พาวเวอร์ โครงการหลากมิตินี้ได้เรียกร้องให้ผู้หญิง คณะแพทย์ และกลุ่มคนไข้ทั่วโลกทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้หญิงในด้านการรักษาระยะยาว และลดความเสี่ยงต่ออาการกระดูกหักที่ไม่จำเป็นและทำให้อ่อนกำลัง

นางเอ็คแลนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบทบาท เก็ท คาร์เตอร์ และบทบาทในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ตอน The Man With Golden Gun แสดงความเห็นว่า "ฉันเป็นโรคกระดูกพรุนมากว่า 10 ปีแล้ว และฉันก็ขอร้องให้ผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนหาคำแนะนำจากแพทย์และกลุ่มคนไข้ในท้องถิ่นเพื่อจะได้เข้าใจถึงวิธีการรักษาว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งการใช้ชีวิตอย่างดีที่สุดได้อย่างไรในช่วงการรักษา"

การดำรงชีวิตในช่วงการรักษาเป็นที่ทราบกันว่าเป็นปัญหาหลักในการจัดการโรคเรื้อรังต่างๆ รวมทั้งโรคกระดูกพรุน เอ็คแลนด์กล่าวต่อไปว่า "ฉันตระหนักถึงผลกระทบของโรคกระดูพรุนที่มีเป็นอย่างมากในกิจกรรมประจำวัน ฉันโชคดีที่สามารถดำเนินชีวิตและเคลื่อนไหวได้ ขณะที่ผู้หญิงหลายคนไม่โชคดีเช่นฉัน การใช้ชีวิตในช่วงการรักษาอาจหมายถึงการหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวน้อย ความเจ็บปวดเรื้อรัง ความพิการ และการเคารพในตัวเองที่ถดถอย]'"

ประเด็นเรื่องการทำให้กระดูกติดกันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุกครั้งที่มีอาการกระดูกหัก คนไข้มีแนวโน้มสูงที่จะมีกระดูกหักเพิ่ม (15,16) เนื่องด้วยจำนวนประชากรที่มีอายุยืนเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนประชากรที่ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนจะเพิ่มขึ้นในช่วงอนาคตอันใกล้ ดังนั้นเป็นความจำเป็นเพิ่มขึ้นที่จะต้องช่วยคนไข้ได้รับผลประโยชน์ที่ดีขึ้นในการรักษา

ศาสตราจารย์ ฌอน อีฟ เรกินสเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยา สาธารณสุข และเศรษฐศาสตร์สุขภาพประจำมหาวิทยาลัยลีก เบลเยี่ยม และเลขาธิการทั่วไปไอโอเอฟ กล่าวว่า "ค่าใช้จ่ายด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาไม่สามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ คณะแพทย์ ผู้หญิง และกลุ่มคนไข้ต้องทำงานร่วมกันเดี๋ยวนี้เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อรับประกันว่าวิธีการรักษาโรคกระดูกพรุนเป็นมิตรกับคนไข้มากขึ้น และมีแนวทางใหม่ๆรวมทั้งการใช้ยาเป็นประจำที่น้อยลง ซึ่งสามารถช่วยได้"

พอล สเปนเซอร์ โซชัคซิวสกี้ หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารไอโอเอฟ สะท้อนความคิดนี้ว่า "ประเด็นเรื่องการทำให้กระดูกติดกันและผลพวงที่ตามมาเมื่อกระดูกหักจำเป็นต้องถูกกำหนดให้เป็นเรื่องฉุกเฉิน ด้วยโครงการสเตย์อิ้ง พาวเวอร์ ทางไอโอเอฟ เรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหวจากผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน คณะแพทย์ กลุ่มผู้ป่วย และระบบการรักษาของรัฐบาลในการกล่าวถึงการเผยแพร่ความกังวลในรายงานวันนี้ ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้น ไอโอเอฟ จะนำกลุ่มสมาชิกคนไข้มาปรึกษาปัญหาด้วยกันในช่วงปลายปีนี้ หาแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง และทำให้บรรลุผลโดยเร็วที่สุด เราได้เรียกร้องให้ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุนสนใจในประเด็นเดียวกันนี้"

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการดังกล่าว และการดาวน์โหลดสำเนาของเอกสาร กรุณาเข้าไปที่ส่วนของ สเตย์อิ้ง พาวเวอร์ ในเว็บไซต์ไอโอเอฟ ได้ที่ www.osteofound.org/stayingpower

โรคกระดูกพรุนซึ่งทำให้กระดูกพรุนและหักง่าย เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้เจ็บปวด สูญเสียการเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำภารกิจประจำวันได้ และในหลายกรณีส่งผลถึงชีวิต หนึ่งในสามของผู้หญิงอายุมากกว่า 50 จะประสบกับอาการโรคกระดูกพรุน ขณะที่ผู้ชายพบหนึ่งในห้า (3,4,5)

โชคไม่ดีนักที่การตรวจคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอยู่ไกลจากมาตรฐานปฏิบัติ โรคกระดูกพรุนในขอบเขตที่แน่นอนนั้นสามารถป้องกันได้ และสามารถวินิจฉัยโรคได้ง่าย รวมทั้งการให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากลหรือ ไอโอเอฟ เป็นเพียงองค์กลสากลเพียงองค์กรเดียวที่อุทิศตนให้กับการต่อสู้โรคกระดูกพรุน โดยองค์กรได้นำนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ คนไข้ และหุ้นส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ องค์กรทำงานกับกลุ่มสมาชิกมากกว่า 170 สมาคมใน 84 ประเทศ และองค์กรที่เกี่ยวกับการรักษาทั่วโลก ไอโอเอฟยังได้ผลักดันให้เกิดความตระหนักและการป้องกัน การตรวจเนิ่นๆ และพัฒนาการรักษาโรคกระดูกพรุน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมที่เว็บไซต์ www.osteofound.org

รายงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของเดอะ สเตย์อิ้ง พาวเวอร์ ได้รับการสนับสนุนจากเงินทุนด้านการศึกษาจากโร้ชและแกล็กโซสมิทไคลน์ ที่ผ่านมามีวิธีการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้ว ทางมูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากลไม่ได้รับรองหรือแนะนำวิธีการรักษาพิเศษใดๆ เพื่อปล่อยให้แพทย์และนักกายภาพเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องวิธีการรักษา

ทั้งนี้ ข้อมูลอ้างอิงในเรื่องดังกล่าวสามารถติดต่อขอรับได้

ที่มา: มูลนิธิโรคกระดูกพรุน

หมายเหตุบรรณาธิการ: สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ รูปภาพจากงานเปิดตัวและบทสัมภาษณ์บริทท์ เอ็คแลนด์ ศาสตราจารย์ฌอน อีฟส์ เรกินสไตร์ และพอล สเปนเซอร์ โซชัคซิวสกี้ กรุณาติดต่อ เอมิลี่ บรู๊คส์, เวอร์โก้ เฮลท์ โทร. 44(0)20-8939-2462 หรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและมูลนิธิโรคกระดูกพรุน กรุณาติดต่อ พอล สเปนเซอร์ โซชัคซิวสกี้ หัวหน้าฝ่ายสื่อสาร ดทร.+41-22-994-0100 อีเมล์ [email protected] หรือลิซ่า ร้อดเวลล์ พีอาร์ เวอร์โก้ เฮลท์ พีอาร์ โทร.+44(0) 20-8939-2467

ติดต่อ: พอล สเปนเซอร์ โซชัคซิวสกี้ หัวหน้าฝ่ายสื่อสาร ดทร.+41-22-994-0100 อีเมล์ [email protected]

หรือลิซ่า ร้อดเวลล์ พีอาร์ เวอร์โก้ เฮลท์ พีอาร์ โทร.+44(0) 20-8939-2467

รูปภาพ: http://www.newscom.com/cgi-bin/prnh/20060522/213166

เว็บไซต์: http://www.osteofound.org/stayingpower

http://www.osteofound.org

--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--


ข่าวมูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากล+มูลนิธิโรคกระดูกพรุนวันนี้

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากลชี้ โภชนาการที่ดีมีความจำเป็นต่อการดูแลสุขภาพกระดูก

รายงานใหม่ของ IOF บ่งชี้การเชื่อมโยงกันระหว่างโภชนาการและกระดูกที่แข็งแรง ผู้มีชื่อเสียงระดับโลก 12 คนออกโรงเรียกร้องเรื่องอุปนิสัยการรับประทานที่สร้างกระดูกให้แข็งแรง เปิดตัวเว็บไซท์ใหม่ของ IOF ฉลองวันกระดูกพรุนโลกในกว่า 80 ประเทศ รายงานฉบับใหม่ซึ่งะผยแพร่ในวันนี้โดยมูลนิธิโรคกระดูกพรุนระหว่างประเทศ (IOF) เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ต.ค.ระบุว่า โภชนาการที่ดีมีความจำเป็นในการสร้างและรักษากระดูกให้แข็งแรง รายงานฉบับใหม่ชื่อ "Bone Appetit: the role of food and nutrition in

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากลเผยผลการศึกษาชี้ปัญหาเรื่องการยึดมั่นในการรักษาโรคกระดูกพรุนทั่วโลกทำให้ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงและทำให้เกิดต้นทุนหลายพันล้านดอลลาร์

พร้อมภาพ --มูลนิธิโรคกระดูกพรุนสากล และบริตท์ เอ็คแลนด์ ดาราภาพยนตร์ เรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเร่งด่วนด้วยการใช้แคปเปญ The Staying Power ...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติแนะนำห้าขั้นตอนเพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีขึ้น เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก

เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก (World Osteoporosis World) 20 ตุลาคม มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ได้เรียกร้องให้ผู้คนทุกเพศทุกวัยดำเนินการเชิงรุกเพื่อ...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) รณรงค์ให้ผู้ใหญ่ตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เนื่องในวันสากลโรคกระดูกพรุน

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) รณรงค์ให้ผู้ใหญ่ทุกคนตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคที่อาจนำไปสู่วงจรกระดูกหักที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะกระดูกหักที่...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ในพระอุ... มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ ชวนสูงวัยใส่ใจ “ไม่ล้มไม่พรุน” — มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิ...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติเตือนอย่าเพิกเฉยต่อสัญญาณบ่งชี้ภาวะกระดูกสันหลังหัก

โรคกระดูกพรุน ซึ่งทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง คือต้นเหตุที่ทำให้หนึ่งในสามของผู้หญิงและหนึ่งในห้าของผู้ชายอายุเกิน 50 ปีทั่วโลกเกิดภาวะกระดูกหัก (รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/767079/IOF_Infographic.jpg)...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวงานเดิน-วิ่งการกุศล “Fit Your Bone Run for Healthy Bone 2018” เนื่องในวันสากลโรคกระดูกพรุน (World Osteoporosis Day)

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับ...