สำนักการระบายน้ำออกตรวจพร้อมแก้ไขปัญหาสถานีสูบน้ำหลักริมแม่น้ำฝั่งธนบุรี

กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--กทม. เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายยลโชค สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ และนายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการกองระบบอาคารบังคับน้ำ ได้ออกตรวจสอบความพร้อมของสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี โดยมีหัวหน้ากลุ่มงานและ เจ้าหน้าที่คอยต้อนรับและรายงานข้อมูลเบื้องต้น สำหรับสถานีสูบน้ำหลักในการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรีที่ไปตรวจเยี่ยม ได้แก่ สถานีสูบน้ำคลองบางพลัด สถานีสูบน้ำคลองบางบำหรุ สถานีสูบน้ำคลองบางยี่ขัน สถานีสูบน้ำคลองชักพระ สถานีสูบน้ำคลองมอญ สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ สถานีสูบน้ำคลองลาน สถานีสูบน้ำคลองดาวคะนอง สถานีสูบน้ำคลองราษฎร์บูรณะ และสถานี สูบน้ำคลองแจงร้อน ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า จากการตรวจสอบความพร้อมเบื้องต้นของสถานีสูบน้ำหลักดังกล่าว พบว่า สถานีสูบน้ำส่วนใหญ่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์เครื่องจักรกลสำหรับการป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำสามารถใช้งานได้ทันที สำหรับสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำอื่น ๆ ที่อยู่ภายในพื้นที่นั้น การเตรียมความพร้อมคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย. ส่วนสถานีสูบน้ำที่มีปัญหา ได้แก่ สถานีสูบน้ำคลองชักพระ เนื่องจากเขื่อนร้าวยาวประมาณ 40 เมตร ทำให้น้ำจากคลองไหล เข้าพื้นที่ด้านใน จึงแก้ปัญหาโดยขอจัดสรรงบฉุกเฉินเพื่อซ่อมแซมเขื่อน และสถานีสูบน้ำคลองลานมีปัญหาเรื่องตำแหน่งที่ตั้งอยู่ ห่างจากแนวคันป้องกันน้ำท่วมประมาณ 1 ก.ม. ทำให้น้ำจากแม่น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ภายใน จำเป็นต้องย้ายสถานีสูบน้ำไปอยู่แนวเดียวกัน จึงแก้ปัญหาโดยขอจัดสรรงบประมาณ ปี 2548 เพื่อย้ายสถานีสูบน้ำ ในส่วนของสถานีสูบน้ำคลองดาวคะนอง มีปัญหาเรื่องการถ่ายเรือล่าช้าเนื่องจากมีเรือท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากและเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำในช่วงฤดูฝน จึงแก้ปัญหาโดยดำเนินการก่อสร้างประตูเรือสัญจรเพิ่มเพื่อให้มีการถ่ายเรือได้เร็วขึ้น ทั้งนี้อยู่ระหว่างการเซ็นสัญญาจ้างเหมาคาดว่า จะแล้วเสร็จในปลายปี 2547--จบ-- -นห-

ข่าวสำนักการระบายน้ำ+แม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้

กทม. เร่งเจาะแนวอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอนหลังทรุดตัว พร้อมเปิดใช้งานทั้งระบบต้นปี 69

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงแม่น้ำเจ้าพระยาว่า สนน. ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่เขตประเวศ เขตบางนา เขตพระโขนงและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยบึงหนองบอนเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ (แก้มลิง) รองรับน้ำรอบบึงหนองบอนผ่านคลองต่าง ๆ และเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อ โดยปัจจุบันผลงานรวมมีความคืบหน้าร้อยละ 96 ทั้งนี้

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังรับมือสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเหนือ เร่งเสริมความสูงแนวคันกั้นน้ำ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการติดตามเฝ้าระวั...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังน้ำเหนือ-น้ำหนุน ตรวจสอบความแข็งแรงแผงคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยา — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. ก...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.พร้อมรับมือน้ำเหนือ เฝ้าระวังจุดเสี่ยงน้ำท่วม - เสริมกระสอบทรายแนวฟันหลอ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการ...

นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้อ... กทม.บูรณาการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังน้ำเหนือพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา — นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.กล่าวถึงการ...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำจากปรากฏการณ์เอลนีโญ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กล่าวถึงการเ...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความ...

กทม. รุกพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ หนุนเพิ่มศักยภาพป้องกันน้ำท่วมกรุงฯ

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวชี้แจงกรณีมีกระแสข่าว กรุงเทพฯ จะจมน้ำจากภาวะน้ำทะเลหนุนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลจากสื่อมวลชนและนักวิชาการหลากหลายสำนักทั้งในและต่างประ...