สกว.ขานรับนโยบายสร้างความเป็นเลิศเปิดรับข้อเสนอทุน เน้นยางธรรมชาติเป็นหลัก

กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ========================================================================================================= สกว.ระดมความคิดเห็นนักวิจัย เอกชน ตั้งโจทย์งานวิจัยสอดคล้องตลาด พร้อมประกาศรับข้อเสนอทุนโครงการวิจัยยาง เน้นการใช้ยาง ธรรมชาติเป็นหลัก สนองนโยบายรัฐสร้างความเป็นเลิศให้อุตสาหกรรมยางไทย ========================================================================================================= (สามารถดาวโหลดข่าวนี้ได้ที่ http://pr.trf.or.th/news/index.asp) อุตสาหกรรมยางเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศปีละหลายล้านบาทและเชื่อมโยงกับวิธีชีวิตของเกษตรกรไทยมานาน การให้ความสำคัญในอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญในอุตสาหกรรมนี้และมีมติคณะรัฐมนตรีในการหาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางของโลกโดยเฉพาะการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (World Center of Rubber Products) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณา อาทิ นโยบายเร่งสร้างนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมยางให้เพิ่มขึ้นหรือสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางธรรมชาติเพิ่มเติมจากแผนดำเนินงานปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ยางธรรมชาติเป็นสารตัวเชื่อม (binder) เป็นกาว (adhesive) หรือเป็นสารอุดรอยเชื่อมหรือรอยรั่ว (sealant) รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า การทำงานของสกว.มีทั้งงานเชิงรับ เช่น ทราบปัญหาของภาคอุตสาหกรรมและนำมาแก้ไข พร้อมทั้งงานเชิงรุกคือ การพยายามมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีใครผลิตและสามารถนำมาแข่งขันในตลาดได้ โดยเฉพาะการใช้ยางธรรมชาติในงาน Adhesives/Binders/Sealants เนื่องจากเกี่ยวโยงกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก อาทิ ด้านวิศวกรรม ยานยนต์ ก่อสร้าง การคมนาคม ฯลฯ โดยโครงการยางของสกว. ได้ระดมความคิดเห็นจากนักวิจัยและภาคเอกชน เพื่อให้งานวิจัยดังกล่าวนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งนี้เพื่อสร้างความหลากหลายของการใช้ประโยชน์จากยางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อหาแนวทางต่อสู้กับความก้าวหน้าของนักวิจัยต่างประเทศที่พยายามค้นคว้าวิจัยเพื่อหายางสังเคราะห์ชนิดต่างๆ มาแทนการใช้ยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นการทำให้เกิดปัญหาการนำยางธรรมชาติมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ลดลง รศ.ดร.สุธีระ กล่าวว่า หลังจากวิเคราะห์และหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าอุตสาหกรรมในลักษณะของการนำยางมาใช้เป็นสารอุดรอยเชื่อมหรือใช้เป็นกาว มีความน่าสนใจมากและเกี่ยวโยงกับการใช้ในอุตสาหกรรมหลายด้าน อาทิ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนประกอบของชิ้นส่วนขนาดเล็กสามารถที่จะใช้กาวยางเป็นส่วนเชื่อมต่อได้ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ หรือในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้วิธีหล่อโลหะให้ติดกัน แต่หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Adhesive เพิ่มขึ้นจะสามารถไปทดแทนวิธีการแบบเดิมได้ จึงได้เร่งระดมความคิดเห็นเพื่อหาประเด็นวิจัยและพัฒนาการนำยางธรรมชาติมาใช้ในงาน Adhesives/Binders/Sealants เพื่อให้นักวิจัยตั้งโจทย์งานวิจัยสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน โดยการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้และมีข้อเสนอจากมุมมองหลากหลาย อาทิ ภาคเอกชนเสนอให้นักวิจัยตั้งโจทย์นำกาวยางธรรมชาติมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังทดแทนการใช้ยางสังเคราะห์ หรือการนำใช้กาวยางธรรมชาติมาใช้ในงานติดเหล็กวัสดุเส้นใย ติดกระเบื้องและไม้ เป็นต้น ด้านมุมมองของนักวิจัยได้นำเสนอหัวข้อวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กาวยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมไม้ เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ยังมีการนำเข้ากาวยางสังเคราะห์ เช่น การนำกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์มาใช้ในการผลิตแผ่นไม้ประกอบหรือในอุตสหากรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทำให้ต้องนำเข้ากาวยางสังเคราะห์ชนิดนี้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสกว.จึงเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยด้าน Adhesivers/Binders/Sealants จากนักวิจัยทั่วประเทศ โดยสามารถส่งข้อเสนอโครงการดังกล่าวมาได้ที่ โครงการวิจัยแห่งชาติยางพารา ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ชั้น 14 อาคารเอส เอ็มทาวเวอร์ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2298-0455 โทรสาร 0-2298-0476 ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป--จบ-- -รอ-

ข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย+กองทุนสนับสนุนการวิจัยวันนี้

นักวิจัยมจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชนรุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ

รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเ... Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง — ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การ... “มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล — สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรร... คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย” — ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...