กทม.จัดสัมมนาแนวทางรับโอนการจัดการเดินรถโดยสารประจำทาง

กรุงเทพฯ--3 ก.ค.--กทม. ที่โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ วันนี้(2 ก.ค.46) เวลา 09.30 น. ดร.สหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการศึกษาแนวทางการรับโอนการจัดการเดินรถโดยสารประจำทางกรุงเทพมหานคร จัดโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด โดยมีนายสนั่น โตทอง รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายจิม พันธุมโกมล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง นายชิดชนก เขมาวุฒานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง พร้อมด้วยหน่วยภาครัฐ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการเดินรถฯ และประชาชน ร่วมการสัมมนา กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างบริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา เพื่อทำการศึกษารูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการโอนกิจการ ขสมก. ให้กับกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค.45 ในการศึกษาจะต้องจัดให้มีการสัมมนา 2 ครั้ง โดยครั้งแรก ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย.45 ส่วนครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษา รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ทั่วไป เพื่อใช้ในการพิจารณาปรับปรุงการศึกษาอีกครั้งให้ผลการศึกษามีความครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด การสัมมนาในครั้งนี้คณะวิทยากรได้นำเสนอแนวคิดด้านต่างๆ ได้แก่ แนวคิดและรูปแบบการโอนกิจการ ขสมก.ให้กทม., การจัดองค์กรการบริหารและการจัดการที่เหมาะสม, ระบบบริหารงานบุคคลในกิจการที่รับโอน, ระบบบัญชีและต้นทุนของการบริการและการเดินรถ, การปรับปรุงเส้นทางการเดินรถ และการประสานงานกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ จากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาฯ กล่าวสรุปผลการศึกษาการรับโอนการจัดการเดินรถโดยสารประจำทางกทม.ว่า จากการศึกษาดังกล่าวได้มีแนวทาง 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การรับโอนกิจการขสมก. ทั้งหมดทันที แนวทางที่ 2 การรับโอนโดยแบ่งการโอนเป็นระยะ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ก. การรับโอนเฉพาะรถโดยสารธรรมดาทั้งหมด โดยกทม.เดินรถเองร้อยละ 15 ส่วนที่เหลือให้สัมปทานเดินรถแก่เอกชน ข. การรับโอนรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศทั้งหมด โดยกทม.จัดเดินรถเองทั้งหมด 100 % (ยุบเลิกขสมก.ในที่สุด) ค.การรับโอนเฉพาะรถโดยสารธรรมดาทั้งหมด โดยกทม.ให้สัมปทานเดินรถแก่ เอกชน 100 % แนวทางที่ 3. การบริหารกิจการเฉพาะเส้นทางที่เลือก โดยกทม.ให้สัมปทานเดินรถเสริมบริการสาธารณะระบบราง (ไฟฟ้า) จำนวน 11 เส้นทางและรถโดยสารธรรมดาที่มีผู้โดยสารมากจำนวน 10 เส้นทาง สำหรับแนวทางที่คณะที่ปรึกษาฯ พบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดและเป็นไปได้มี 2 แนวทางคือ 1. การรับโอนเฉพาะรถโดยสารธรรมดาทั้งหมด โดยกทม.เดินรถเองร้อยละ 15 ส่วนที่เหลือให้สัมปทานเดินรถแก่เอกชน โดยแนวทางนี้ ได้มีระยะเวลาการรับโอน กล่าวคือ ภายในระยะเวลา1 ปี กทม.รับโอนสิทธิในการเดินรถโดยสารธรรมดาของเอกชนให้แล้วเสร็จ พร้อมให้สิทธิแก่เอกชนเดินรถในเส้นทางเดิม และภายใน 3 ปี กทม.รับโอนสิทธิในการจัดเดินรถโดยสารธรรมดาของขสมก.และจัดหาเอกชนผู้รับสัมปทานเดินรถร้อยละ 85 และกทม.จัดเดินรถร้อยละ 15 ของจำนวนรถทั้งหมดให้เสร็จ ปีที่ 4 กทม.และเอกชนร่วมบริการจัดเดินโดยสารธรรมดา ทั้งหมดให้ครบทุกเส้นทาง สำหรับแนวทางนี้กทม.จัดการเดินรถจำนวน ร้อยละ 15 ลักษณะคล้ายกับบริษัท ขนส่ง จำกัด ดำเนินการ ซึ่งสามารถกำกับดูแล มีข้อมูลแนวทางในเรื่องการจัดการ ตลอดจนมีอำนาจในการต่อรองการจัดการอีกด้วย ซึ่งกทม.จะต้องจัดการเดินรถจำนวน 28 เส้นทาง รถโดยสารประมาณ1,248 คัน ใช้บุคลากรประมาณ 4,876 คน เช่นพนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน ฯลฯ และมีการรับพนักงานใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม 2. การรับโอนเฉพาะรถโดยสารธรรมดาทั้งหมด โดยกทม.ให้สัมปทานเดินรถแก่เอกชน 100 % กล่าวคือภายใน 1 ปี กทม.รับโอนการจัดเดินรถโดยสารธรรมดาของเอกชนให้แล้วเสร็จ พร้อมให้สิทธิแก่เอกชนรายเดิมเดินรถต่อไป ภายในระยะ 3 ปี กทม.รับโอนการจัดเดินรถโดยสารธรรมดาของขสมก.และจัดหาผู้รับสัมปทานสำหรับการเดินรถให้แล้วเสร็จ และปีที่ 4 ให้เอกชนเดินรถโดยสารธรรมดาทั้งหมดครบทุกเส้นทาง แนวทางนี้ กทม.ดำเนินการเฉพาะการดูแลสัมปทาน การวางเกณฑ์มาตรฐาน การเจรจาต่อรอง มีการจัดตั้งในรูปบริษัท ซึ่งเป็นองค์กรขนาดเล็ก ใช้บุคลากรประมาณ 113 คน และให้เอกชนจัดการเดินรถทุกเส้นทาง ทั้งนี้ 2 แนวทางดังกล่าว ต้องมีการปรับอัตราค่าโดยสารธรรมดาจากเดิมเป็นราคา 4 บาท หรือ 5 บาท และทำให้ขสมก.ยังสามารถดำเนินการเดินรถต่อไปโดยดำเนินการเฉพาะรถโดยสารปรับอากาศ--จบ-- -นห-

ข่าวสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย+ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครวันนี้

ไทยได้ประโยชน์จากสงครามการค้าจริงหรือ?: มิติทางด้านการลงทุน

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการศึกษาการแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ของอุตสาหกรรมสำคัญระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และนัยต่อเศรษฐกิจการค้าไทย ผลการศึกษาด้านการลงทุน พบว่า ไทยได้อานิสงค์ในส่วนของการขยายการลงทุนและการย้ายฐานการผลิตจากสงครามการค้า โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ สิงคโปร์ และ

เชิญเข้าร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่าง... เชิญร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไทยได้หรือเสียประโยชน์" — เชิญเข้าร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไทยได้หรือเสียประโยชน์...

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันวิจัยแล... ธรรมศาสตร์ยกย่องนักวิจัยมธ. 73 ราย 7 สาขา 57 รางวัล ตอกย้ำความก้าวหน้าทางวิชาการ — ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรร...

สศอ.เสนอแผนปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม จับมือ 3 ป... สศอ.เสนอแผนปฏิรูปอุตสาหกรรมดันรายได้ประชากรเพิ่ม 2.25 เท่า — สศอ.เสนอแผนปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม จับมือ 3 ประเทศหุ้นส่วน ขับเคลื่อน 3 อุตสาหกรรมอนาคต ดันรายได้...

การเคหะแห่งชาติและสถาบันวิจัยและให้คำปรึก... ขอเชิญเข้าร่วมฟัง “โอกาสร่วมธุรกิจกับการเคหะแห่งชาติ ภายใต้แผนพัฒนาใหม่” — การเคหะแห่งชาติและสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียนเชิ...

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา เพื่อระดมความคิดเห็น (Forum) ครั้งที่ 2

ด้วยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กำหนดจัดการประชุมสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็น...

ภาพข่าว: NPS รับประกาศเกียรติคุณ ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในโรงงาน

เมื่อเร็วๆ นี้ นายอภิชัย ซอปิติพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพีเอส ผู้นำด้านพลังงานทดแทนจากพลังงานปลูกได้ รับมอบประกาศนียบัตรจากการเข้าร่วมโครงการ “ส่งเสริม...