พึงระวังโรคฉี่หนู ชุกชน แพร่เชื้อ ขยายพันธุ์เร็วช่วงน้ำท่วม

กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เตือนให้ระวังเชื้อโรคที่มากับน้ำ ภัยเงียบที่อาจแพร่เข้าสู่คนที่เดินย้ำน้ำโดยไม่สวมรองเท้า ซึ่งมีหนูเป็นพาหะในการนำเชื้อแบคทีเรียโรคฉี่หนูเข้าสู่คน เผยโรคบางโรคเกิดขึ้นเพราะความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เป็นเหตุให้สัตว์ผู้ล่าหายไปจากห่วงโซ่อาหาร แนะนำนักวิชาวงการแพทย์ควรทำการรักษาพร้อมไปกับนำความเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้ศึกษากับพาหะที่นำเชื้อโรคเข้าสู่คนสามารถดาวโหลดบทความได้ที่ http/pr.trf.or.th รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล รองหัวหน้าโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (บีอาร์ที) กล่าวถึงภัยที่แฝงมากับน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ว่า ทุกครั้งของการเกิดน้ำท่วมขึ้นเรามักจะกังวลถึงน้ำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ตลอดถึงสัตว์เลื้อยคลายมีพิษที่หนีน้ำขึ้นมาอยู่ในที่สูง คนส่วนใหญ่จะกังวลและหาทางป้องกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เรามองข้ามนั่นคือ เชื้อโรค ที่มากับน้ำ ซึ่งเกิดมาจากอากาศแปรปรวนทางกายภาพ อันมีสาเหตุมาจากสัตว์ผู้ล่าสูญพันธุ์ ระบบห่วงโซ่อาหารถูกทำลาย การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ เหมือนกรณีที่หนูมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากมันจะเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมให้เชื้อโรคบางชนิดเพิ่มขยายพันธุ์ ในตัวหนูจะมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคฉี่หนู และสามารถเคลื่อนที่ไปสู่บริเวณต่างๆ ได้ ทุกครั้งที่เกิดฝนตกน้ำท่วมแบคทีเรียที่อยู่ในตัวหนูมีโอกาสแพร่กระจายสู่น้ำมากกว่าเดิม ประกอบกับจะเติบโตได้ดีในที่ชื้น ส่งผลให้หนูที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วย เชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปเติบโตบริเวณไตของหนู เมื่อหนูไปฉี่มันจะแพร่เชื้อแบคทีเรียไปสู่สัตว์และคนต่อไป ไม่เพียงแค่หนูเท่านั้นที่เป็นพาหะในการนำเชื้อแบคทีเรียโรคฉี่หนูเข้าสู่คน ยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างวัว ควาย และหมู ที่เป็นพาหะของโรคนี้ และถ้าช่วงน้ำท่วมสัตว์เหล่านี้ฉี่ลงน้ำหรือในที่ชื้น แบคทีเรียโรคฉี่หนูจะมีโอกาสติดต่อสู่คนได้ง่ายขึ้น หากคนๆ นั้น ไม่สวมรองเท้าแล้วเดินลุยน้ำ เกิดโรคน้ำกัดเท้า แบคทีเรียโรคฉี่หนูจะเข้าสู่คนทางบาดแผล ทำให้คนๆ นั้นป่วยเป็นไข้ หากคนไหนมีภูมิคุ้มกันอาจจะมีไข้ไม่ร้ายแรง แต่สำหรับคนที่ร่างกายอ่อนแอไม่มีภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียโรคฉี่หนูจะทำให้คนๆ นั้นถึงแก่ชีวิตได้ รศ.ดร. สมโภชน์ กล่าวต่อถึง แนวทางการป้องกันในช่วงนี้ หากต้องเดินลุยน้ำต้องสวมรองเท้าบู๊ทยาง และล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังจากเสร็จภาระกิจการงานแล้ว นอกจากนี้นักวิชาการที่อยู่ในสายงานด้านการแพทย์ ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่รักษาคนป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเข้ามาอธิบายถึงผลกระทบของระบบห่วงโซ่อาหาร ที่เป็นผลให้เกิดพาหะของโรคต่างๆ ขึ้นมาให้กับคนป่วยได้รู้รู้ข้อมูลด้วย“ทุกวันนี้จำนวนหนูมีเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากห่วงโซ่อาหารถูกทำลาย สัตว์ผู้ล่าหนูมีจำนวนน้อยลง ส่งผลกระทบถึงมนุษย์ โรคบางโรคที่เคยหายไปจากสังคม โผล่กลับขึ้นมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคกาฬโรค ไข้เลือดออก ที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดจากสิ่งแวดล้อมถูกรบกวน ความหลากหลายทางชีวภาพมีจำนวนลดลงอย่างหน้าใจหาย ความหลากหลายทางชีวภาพขาดความสมดุลย์ คนส่วนใหญ่จะไม่นึกถึงเชื้อโรค แต่มันจะกลับมาหาเราอย่างที่เราคาดไปถึง”--จบ-- -นห-

ข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย+กองทุนสนับสนุนการวิจัยวันนี้

นักวิจัยมจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชนรุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ

รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเ... Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง — ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การ... “มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล — สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรร... คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย” — ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...