ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น:จากข้อเท็จจริงยกระดับสู่กระบวนทัศน์ความเข้มแข็งชุมชน

กรุงเทพฯ--13 ม.ค.--ม.วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยจัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : จากข้อเท็จจริงยกระดับสู่กระบวนทัศน์ความเข้มแข็งชุมชน” ระหว่างวันที่ 24-25 มกราคม 2546 ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดร.อุทัย ดุลยเกษม คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5 เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : จากข้อเท็จจริงยกระดับสู่กระบวนทัศน์ความเข้มแข็งชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ทั้งในแง่รูปธรรมผ่านการบอกเล่า การแสดงตังอย่าง การสาธิต การยกระดับขึ้นเป็นนามธรรมที่สูงขึ้น เพื่อสร้างเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในแง่มุมความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน และการปรับใช้ในบริบทสังคมปัจจุบันของนักวิชาการ ประชาชนทั้งจากในท้องถิ่นและจากภูมิภาคอื่น กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 24 | 25 ม.ค. 46 ประกอบด้วย พิธีเปิดโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา ปาฐกถานำ เรื่อง “ภูมิปัญญาทักษิณ” โดย ศาสตราจารย์ ดร. เอกวิทย์ ณ ถลาง การอภิปราย เรื่อง “แนวทางการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดย รองศาสตราจารย์ศรีศักร์ วัลลิโภดม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โอภาส ปัญญา และดร.เลิศชาย ศิริชัย ต่อจากนั้นเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภูมิปัญญาชาวคีรีวง ภูมิปัญญา เรื่อง ตาลโตนด ภูมิปัญญา เรื่อง แพทย์พื้นบ้าน ภูมิปัญญา เรื่อง ผ้า และในวันที่ 25 ม.ค. 46 เวลา 10.15-12.00น. การอภิปราย เรื่อง “การยกระดับและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน” โดย รองศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ และดร.อุทัย ดุลยเกษม เป็นวิทยากร ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ ภูมิปัญญา เรื่อง เกษตรธรรมชาติ เรื่อง การทำประมงแบบพื้นบ้าน และเรื่องผลิตภัณฑ์ต้นจาก ดร.อุทัย ดุลยเกษม กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนนักวิชาการ อาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมสัมมนาวิชาการในเรื่องดังกล่าว เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ และเป็นแนวทางเปรียบเทียบสำหรับภูมิภาคอื่นๆ โดยสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ 0-7567-2002-3 ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 20 ม.ค. 46 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ--จบ-- -ตม-

ข่าวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์+ภูมิปัญญาท้องถิ่นวันนี้

ม.วลัยลักษณ์ แถลงเตรียมจัดกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 ตุมปังเกมส์ ทัพนักกีฬา 63 สถาบัน กว่า 7,000 คน เข้าร่วม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แถลงข่าวเตรียมจัดแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 "ตุมปังเกมส์"ระหว่างวันที่ 3-10 พฤษภาคม 2568 มีทัพนักกีฬา 63 สถาบันทั่วประเทศ กว่า 7,000 คน เข้าร่วมชิงชัย 426 เหรียญทอง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้จังหวัดนครศรีธรรมราชคึกคัก วันนี้ (3 เมษายน 2568) ที่ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายประสงค์ จันทร์หยู นายอำเภอ อำเภอท่าศาลาในฐานะผู้

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียม... ม.วลัยลักษณ์ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขัน "ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ" ครั้งที่ 22 4-8 เม.ยนี้ — ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียมพร้อมจัดการแข่งขันชีวว...

เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บ... เปิดไอเดีย "กระเป๋ารักษ์โลก" สานจากหางประทัดแก้บน "ไอ้ไข่" ผลผลิตจากงานวิจัยของม.วลัยลักษณ์ — เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บน" จากความสำเร็จนับ...

ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชากา... ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 ฉลองครบรอบ 33 ปี — ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่...

ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างย... ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาธุรกิจจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน ลดปริมาณขยะลง 10 เท่า — ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศ...

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเ... มาแล้ว! รอบโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ ม.วลัยลักษณ์ รับ 2,842 ที่นั่ง — มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใ...

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดร... โค้งสุดท้าย! TCAS'68 รอบ Port ม.วลัยลักษณ์ รีบสมัครก่อนหมดเขต 20 ม.ค. นี้ — มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อ...

นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรี... นักวิจัยม.วลัยลักษณ์ แนะ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชหลังน้ำท่วม — นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชให้แก่เกษตร...

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบควา... นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ เปิดตัวนวัตกรรมหมุดถนนเรืองแสง เพิ่มความปลอดภัยทางถนน — ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมหมุดถนนเรื...