ม.วลัยลักษณ์ ค้นพบปลาตีนพันธุ์ใหม่ของโลก

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--ม.วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ค้นพบปลาตีนพันธุ์ใหม่ของโลก ชื่อ Periophthalmus walailakae Darumas & Tantichodok 2002. ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึง การศึกษาค้นคว้าซึ่งค้นพบปลาตีนพันธุ์ใหม่ของโลก โดยตั้งชื่อ Periophthalmus walailakae Darumas & Tantichodok 2002. เพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยครบปีที่ 10 และนักวิจัยทางนิเวศวิทยาทางทะเลซึ่งเป็นผู้ค้นพบ คือ ผศ.ดร.ปิติวงษ์ ตันติโชดก และนายอุดมศักดิ์ ดรุมาศ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Phuket Marine Biological Center Research Bulletin ฉบับที่ 64 ของสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเล จากการสำรวจพบว่าปลาตีนพันธุ์ใหม่นี้มีการแพร่กระจายเฉพาะชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนองถึงพังงา รวมถึงฝั่งทะเลอันดามันของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ไม่พบในทะเลอ่าวไทย ปลาตีนชนิดนี้ มีลักษณะสำคัญคือ มีฟันเขี้ยวที่ขากรรไกรบน เรียงตัวกันจำนวน 1 แถว บริเวณปลายส่วนหัวและระหว่างตาทั้ง 2 ข้างไม่มีเกล็ดปกคลุม ด้านในของครีบท้อง (Pelvic fins) มีเยื้อเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย หรือ รูปใบโพธิ์ ขอบครีบหลังอันแรกโค้งมน ก้านครีบหลังอันแรกของครีบหลังอันที่สอง เป็นก้านแข็ง มีเกล็ดแบบ cycloid ลูกตายื่นออกจากเบ้าตาและสามารถหดกลับในเบ้าตาได้ ริมฝีปากด้านบนในเนื้อเยื่อซ้อนทับอยู่ด้านบน เนื้อเยื่อนี้มีติ่งห้อยลงมาด้านข้าง 2 อัน ทำให้มองดูคล้ายเขี้ยว ลักษณะของสีปลาตีนชนิดนี้สามารถเปลี่ยนสีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือเมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตามสามารถบอกลักษณะสีที่สำคัญได้ดังนี้ สีพื้นของลำตัวด้านข้างและด้านบน เป็นสีน้ำตาลเทา ด้านล่างของลำตัว เป็นสีเหลืองเทา จุดเล็กๆสีเหลืองและขาวจำนวนมากที่ด้านข้างของลำตัวและหัว โดยเฉพาะบริเวณด้านข้างเยื้องด้านล่างของกระพุ้งแก้ม ปื้นสีดำจำนวน 6 แถบเรียงตัวในแนวเฉียงจากบนลงล่างครีบหลังอันที่หนึ่ง มีสีน้ำตาลแดงเป็นสีพื้น ขอบนอกของครีบมีสีขาว ขอบนอกของครีบหลังอันที่สอง เป็นสีแดงซีด มีแถบสีดำวางตัวในแนวขนานบริเวณกลางครีบ บริเวณฐานมีจัดสีแดงเรียงตัวในแนวขนานเช่นกัน ลักษณะทางนิเวศวิทยา ปลาตีนชนิดนี้อาศัยที่พื้นในป่าชายเลน โดยการขุดรูสำหรับอาศัยลึกประมาณ 100 ถึง 200 เซนติเมตร รูของปลาตีนชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับรูของปลากระจัง (Periophthalmodon schloserri) เป็นอย่างมาก การขุดรูทำโดยการดำลงไปฮุบดินที่ก้นรู อมไว้ในปาก นำขึ้นมากองไว้รอบๆปากรู ทำให้มีลักษณะเป็นขอบที่ปากรู การสร้างรูนี้จะทำทั้งตัวผู้และตัวเมีย แยกจากกัน แต่บางครั้งสามารถพบว่า 1 รู มีปลาตีน 2 ตัว คือตัวผู้และตัวเมีย ปลาชนิดนี้จะละจากรูเพื่อหาอาหารในช่วงเย็นและจะกลับมาที่รูอีกครั้งเมื่อใกล้สว่าง ในช่วงกลางวันปลาจะขึ้นมาตากตัวที่ปากรูหรือปรับปรุงรู ปลาชนิดนี้กินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร โดยกินปูชนิดต่างในป่าชายเลนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังกิน หอยสองฝา แมลง ทากดินที่พบในป่าชายเลน และกุ้ง การกินเหยื่อส่วนใหญ่เป็นการกินทั้งตัว--จบ-- -ตม-

ข่าวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์+สุพัทธ์ พู่ผกาวันนี้

ม.วลัยลักษณ์ ค้นพบปลาตีนพันธุ์ใหม่ของโลก

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--ม.วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ค้นพบปลาตีนพันธุ์ใหม่ของโลก ชื่อ Periophthalmus walailakae Darumas & Tantichodok 2002. ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึง การศึกษาค้นคว้าซึ่งค้นพบปลาตีนพันธุ์ใหม่ของโลก โดยตั้งชื่อ Periophthalmus walailakae Darumas & Tantichodok 2002. เพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยครบปีที่ 10 และนักวิจัยทางนิเวศวิทยาทางทะเลซึ่งเป็นผู้ค้นพบ คือ ผศ.ดร.ปิติวงษ์ ตันติโชดก

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียม... ม.วลัยลักษณ์ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขัน "ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ" ครั้งที่ 22 4-8 เม.ยนี้ — ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียมพร้อมจัดการแข่งขันชีวว...

เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บ... เปิดไอเดีย "กระเป๋ารักษ์โลก" สานจากหางประทัดแก้บน "ไอ้ไข่" ผลผลิตจากงานวิจัยของม.วลัยลักษณ์ — เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บน" จากความสำเร็จนับ...

ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชากา... ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 ฉลองครบรอบ 33 ปี — ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่...

ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างย... ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาธุรกิจจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน ลดปริมาณขยะลง 10 เท่า — ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศ...

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเ... มาแล้ว! รอบโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ ม.วลัยลักษณ์ รับ 2,842 ที่นั่ง — มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใ...

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดร... โค้งสุดท้าย! TCAS'68 รอบ Port ม.วลัยลักษณ์ รีบสมัครก่อนหมดเขต 20 ม.ค. นี้ — มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อ...

นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรี... นักวิจัยม.วลัยลักษณ์ แนะ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชหลังน้ำท่วม — นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชให้แก่เกษตร...