T-2 เดินหน้ายับยั้งการแพร่วัณโรค

กรุงเทพ--28 ก.ค.--โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อป้องกันและบำบัดโรคเขตร้อน โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อป้องกันและบำบัดโรคเขตร้อน (Thailand - Tropical Disease Program : T-2) ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และองค์การอนามัยโลก เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ นักวิจัย ภายในวงเงิน 330 ล้านบาท เพื่อรับสถานการณ์การระบาดของวัณโรค รวมถึงการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับโรคเขตร้อนอื่น ๆ อาทิ โรคมาเลเรีย โรคเท้าช้าง โรคไข้เลือดออก ไวรัสตับ พยาธิใบไม้ตับ พยาธิตัวจี๊ด โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเอดส์ โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนายา น้ำยาตรวจวินิจฉัยโรค และวัคซีน สำหรับรักษาโรคดังกล่าวข้างต้น ที่ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามการเข้ามามีบทบาทของโครงการ T-2 โดยตั้งเป้าวิจัยเพื่อการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพ น้ำยาวินิจฉัยโรค หรือวัคซีน เพื่อโรควัณโรค นับเป็นการดำเนินการเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งคาดว่าวัณโรคอาจเพิ่มมากขึ้นอีก จึงมีความเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ได้มากที่สุดและให้การรักษาด้วยระบบยาที่มีประสิทธิผลในการรักษาสูง ผศ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจำแนกสายพันธของเชื้อวัณโรค เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าติดตามการแพร่ระบาดของโรคได้กล่าวถึง ความก้าวหน้าของประเทศไทยในการพัฒนาควบคุมโรคว่า รูปแบบและกลวิธีในการควบคุมวัณโรค ได้มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมมาโดยตลอดในระยะเวลากว่า 40 ปี ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ทั้งในด้านการรักษาและการป้องกัน โดยใช้วัคซีน ในปัจจุบันในไทยมีการฉีดวัคซีนบีซีจี และได้รับการพัฒนาระบบยาที่ใช้รักษาวัณโรคจากระบบยาพื้นฐานเดิมมาเป็นระบบยาระยะสั้นที่ให้ประสิทธิผลในการรักษาสูง ซึ่งการใช้ยาที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ การใช้ยาควบกันหลายขนาน อย่างไรก็ดีวิธีการป้องกันรักษาก็ยังมีปัญหาอยู่ อาทิ วัคซีนป้องกันได้ดีในเด็กแต่ไม่ใคร่มีผลในการลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคในผู้ใหญ่ ผศ.ประสิทธิ์ และทีมงานซึ่งได้เสนอขอรับการสนับสนุนการวิจัยจากโครงการเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยทุนดังกล่าวจะนำมาใช้ในการพยายามหายาใหม่ โดยการใช้วิธีสกัด ตรวจกรองหาสารจากส่วนประกอบของจุลินทรีย์ และพืชในประเทศไทย เพื่อหาสารทีมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรคได้ โดยตั้งเป้าไว้ภายในระยะเวลาทุน T-2 5 ปี น่าจะได้สารที่มีฤทธิ์ดังกล่าว ส่วนกระบวนการหลังจากนี้ คือ การสกัดบริสุทธิ์และทำการทดสอบในสัตว์ หาคุณสมบัติและศักยภาพของสารพอที่จะนำมาผลิตเป็นตัวยาได้ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เนื่องจากหากทดสอบในสัตว์ผ่านแล้ว จำเป็นต้องทำการทดสอบในคนกลุ่มต่างๆ ให้ได้ผลที่แน่นอน นอกจากนั้นการทำงานในห้องวิจัยเพื่อทดสอบยาวัณโรค ยังจำเป็นที่จะต้องมีห้องปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบ มีระบบการไหลเวียนของอากาศภายในห้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันจากบริเวณที่สะอาดไปสู่บริเวณที่สกปรกกว่า และให้มีการทำความสะอาดอากาศเสียออกจากห้องปฏิบัติการโดยไม่มีการไหลย้อนกลับมาอีก ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและประสิทธิภาพการวิจัย ซึ่งการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์นับเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทาง T-2 ตั้งเป้าหมายไว้ อย่างไรก็ตามการปรับปรุงอุปกรณ์ คือ ความจำเป็น แต่ความก้าวหน้าในการพัฒนาการวิจัย เพื่อยับยั้ง ป้องกันและควบคุมวัณโรค ยังคงต้องฝากความหวังไว้กับนักวิจัย ในการที่จะเสนอผลงานเข้ามาร่วมงานกับโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อป้องกันและบำบัดโรคเขตร้อน หรือ T-2 เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทยได้ แต่ยังมีทางที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้น ในสภาวะการระบาดของโรคเอดส์เช่นนี้ได้--จบ--

ข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

นักวิจัยมจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชนรุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ

รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเ... Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง — ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การ... “มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล — สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรร... คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย” — ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...