สภาพัฒน์เดินหน้าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ศึกษา 2 โครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ และชายฝั่งทะเลตะวันออก

กรุงเทพ--4 ส.ค.--สศช. เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำหรับดำเนินการศึกษา 2 โครงการ คือ "โครงการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรม ตามแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้" และ "โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบชุมชนในอนาคตพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก" โดยนายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา 2 กลุ่มบริษัท การศึกษาทั้ง 2 โครงการใช้งบประมาณรวม 50 ล้านบาท และจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2541 ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง ภายหลังจากพิธีลงนาม นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการฯ พร้อมทั้งผู้บริหาร สศช.ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ โครงการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรม ตามแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทำการศึกษาโดย กลุ่มบริษัท Moffatt & Nichol International (ไทย) และ Wilbur Associates (สหรัฐฯ) ในวงเงิน 25 ล้านบาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดย USTDA (United State Trade and Development Agency) เป็นจำนวน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ (12.5 ล้านบาท) และเงินงบประมาณ 12.5 ล้านบาท สำหรับสาระสำคัญของการศึกษานี้จะมุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ในรายละเอียดด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกตามแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในบริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และบริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย - การคาดการณ์ปริมาณจราจร ชนิดและจำนวนเรือบริเวณท่าเรือทั้งสองฝั่ง และบริเวณทุ่นจอดเรือน้ำมัน (Single Point Mooring : SPM) - คาดการณ์กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นบริเวณหลังท่าทั้งสอง รวมทั้งจัดเตรียมผังการใช้ที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม และชุมชนบริเวณหลังท่า อีกทั้งเสนอแนวถนนเชื่อมโยงจากท่าเรือไปยังถนนกระบี่-ขนอม - ออกแบบเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก SPM (รับเรือขนาด 300,000 DWT) และท่อส่งน้ำมันจาก SPM ฝั่งตะวันตกไปยังโรงกลั่นน้ำมันที่ฝั่งตะวันออก - วิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสนอมาตรการลดผลกระทบ - ประมาณการค่าใช้จ่ายการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระบบ SPM และท่อส่งน้ำมัน รวมทั้งวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน - เสนอแนะวิธีการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน - จัดทำข้อกำหนดสำหรับการศึกษาออกแบบรายละเอียดของท่าเรือในขั้นตอนต่อไป การศึกษาดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 9 เดือน (มิ.ย. 2540 - มี.ค. 2541) โดยจะสามารถเสนอผลการออกแบบเบื้องต้นของท่าเรือและผังการพัฒนาที่ดินหลังท่าได้ภายในเดือนตุลาคม 2540 และผลการศึกษาของโครงการฯ จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม 2541 ซึ่งคาดว่าจะให้ประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดนโยบายเร่งรัดการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมบริเวณปลายสะพานเศรษฐกิจในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งขณะนี้โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมโยงบริเวณท่าเรือ และเขตอุตสาหกรรมทั้งสองฝั่งทะเลได้เตรียมการไว้พร้อมแล้ว ได้แก่ - ถนนกระบี่-ขนอม กรมทางหลวงกำลังดำเนินการออกแบบใหม่ เขตทาง 200 เมตร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาค่าก่อสร้าง และเวนคืนที่ดินในกลางปี 2540 ส่วนการก่อสร้างจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณปลายปี 2540 และจะแล้วเสร็จภายในปี 2543 - ทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคม-สุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น-ภูเก็ต การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการเวนคืนที่ดินไว้เรียบร้อยแล้ว - ถนน Moterway สายปลายพระยา-อ่าวลึก-พังงา-ตะกั่วทุ่ง-ภูเก็ต กรมทางหลวง มีแผนงานจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปี 2540 - โครงการนิคมอุตสาหกรรมสุราษฎร์ธานี ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 โดยได้สนับสนุนงบประมาณสมทบจำนวน 625 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการแล้ว - โครงการโรงกลั่นน้ำมันและโครงการปิโตรเคมี มีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนพัฒนาที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศต่อเนื่องจากพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกในอนาคต สำหรับโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบชุมชนในอนาคต พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ทำการศึกษาโดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา Wilbur Smith Associated/Asian Engineering Consultants Corp., Ltd.,/Norconsult International A.S. ใช้เงินงบประมาณ 25 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของการศึกษา ประกอบด้วย - การกำหนดแผนการใช้ดิน เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรมใหม่ และชุมชนโดยรอบ ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครอบคลุม อ.บ้านค่าย และปลวกทอง จ.ระยอง อ.พนัสนิคม บ้านบึง และบ่อทอง จ.ชลบุรี อ.แปลงยาว และสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา - เสนอแนวทางพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงและสนับสนุนการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่าย และเสนอแนวทางการร่วมทุน - คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ประชากรและการจ้างงาน เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาการศึกษา การสาธารณสุข และอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม - เสนอแผนจัดการสิ่งแวดล้อม และมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรม - จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาโครงการตามผลการศึกษา การศึกษานี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 10 เดือน (มิถุนายน 2540 - เมษายน 2541) คาดว่าผลการศึกษาของโครงการฯ จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2541 ซึ่งผลการศึกษาจะให้ประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดแผนงานโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ในอันที่จะสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่บริเวณนี้ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถรองรับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งนิคม/เขตอุตสาหกรรม ทั้งขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในพื้นที่ตอนในที่มีศักยภาพสอดคล้องกับการส่งเสริมการลงทุน และการจ้างงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในอีก 20 ปีข้างหน้า--จบ--

ข่าววิรัตน์ วัฒนศิริธรรม+โครงการศึกษาวันนี้

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกและ CEA นำร่องสร้างดัชนีชี้วัดซอฟต์พาวเวอร์ไทย

กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เปิดตัว Creative Economy Data Model (CEDM) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาแบบจำลองข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศสมาชิก WIPO เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า "รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน Soft Power ของประเทศ

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เดินหน้าป้องกัน-แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนแล้ว 233 ไร่ — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม....

สพภ. เจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับจีน

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา (ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน หรือ สพภ. พร้อมด้วยผู้บริหาร สพภ. ได้แก่ นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม (ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ) นายสุรชัย ศศิสุวรรณ (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) นางสุชาดา ชยัมภร (รองผู้อำนวยการ) ...

ปฏิทินธุรกิจวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2541

กรุงเทพ--24 ก.ย.--บิสนิวส์ วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2541 8.00 น. นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคระกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจต่อภาวะการมีงานทำ การว่างงานและรายได้" ให้แก่...

ปฏิทินธุรกิจวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2541

กรุงเทพ--14 ม.ค.--บิสนิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2541 13.30 น. ชมรมยุทธศาสตร์ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ จัดสัมมนาเรื่อง "ปัญหาแรงงาน ในประเทศกับทางออกในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย" โดยไตรรงค์ สุวรรณคีรี รมว.แรงงานและสวัสดิการสังคม, วิรัตน์ วัฒนศิริธรรม ...

รมต.ประจำสำนักงานนายกฯ มอบนโยบายการดำนเนินงานแก่ผู้บริหาร

กรุงเทพ--12 ม.ค.--สศช. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2540 ดร.สาวิตต์โพธิวิหครัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)และประชุมมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ผู้บริหาร สศช. ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์...

ผู้บริหาร สศช. ตรวจราชการพร้อมมอบนโยบายและภารกิจให้ศูนย์เหนือ

กรุงเทพ--21 ต.ค.--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายไพโรจน์ สุจินดา รองเลขาธิการฯ นายสันติ บางอ้อ รอง...

สภาพัฒน์เดินหน้าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ศึกษา 2 โครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ และชายฝั่งทะเลตะวันออก

กรุงเทพ--4 ส.ค.--สศช. เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำหรับดำเนินการศึกษา 2 ...

สศช.จัดสัมมนา "ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ประเทศไทย สู่ พ.ศ. 2560"

กรุงเทพ--4 ส.ค.--สศช. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับมูลนิธิเด็ก มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ภาคีความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาข่ายความร่วมมือเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาไทย ...

กระทรวงมหาดไทยจัดสัมมนา "การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น"

กรุงเทพ--30 ก.ค.--กระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยจะจัดการสัมมนาผ่านวีดีทัศน์ทางไกลเรื่อง "การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น" ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2540 ณ ห้องประชุม 1 กระทรวงมหาดไทย ...