โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

29 Nov 2024

"โรคซึมเศร้า" อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ และทุกคนสามารถกลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเอง

โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

โรคซึมเศร้า (Depression) ไม่ใช่แค่เรื่องของอารมณ์เศร้า หรือหมดกำลังใจในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เป็นภาวะทางจิตที่ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ และมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โรคซึมเศร้าไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกท้อแท้หรือหมดกำลังใจ แต่ยังสามารถมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน การทำงาน และการใช้ชีวิตปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

  • พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้น
  • ความเครียดเรื้อรัง ภาระงาน, ความวิตกกังวล, หรือปัญหาทางการเงิน
  • สภาพแวดล้อมและสังคม การขาดการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • ภาวะสุขภาพร่างกาย โรคเรื้อรัง หรือการใช้สารเสพติด

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต Bangkok Mental Health Hospital หรือ BMHHเราให้ความสำคัญกับกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ โดยใช้รูปแบบการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team : MDT) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักบำบัด พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การทำงานร่วมกันของทีมช่วยให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการบำบัดทางจิต การดูแลร่างกาย และการสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะในกระบวนการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้และความเข้าใจจากหลายมุมมอง ทีมงานจะช่วยสร้างการดูแลที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละราย ทำให้การรักษามีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่า MDT จะไม่ใช่เพียงวิธีการรักษาเดียว แต่เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้ามีวิธีไหนบ้าง?

ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต Bangkok Mental Health Hospital หรือ BMHH มีการรักษาโรคซึมเศร้าที่หลากหลายวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการ และมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้

  • การบำบัดทางจิตวิทยา (Psychotherapy)

การบำบัดทางจิตหรือที่เรียกว่า "การพูดคุยบำบัด" เป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อเข้าใจถึงสาเหตุของอาการซึมเศร้า และช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเชิงลบที่อาจทำให้เกิดปัญหาในชีวิต การบำบัดที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การบำบัดพฤติกรรมและความคิด (CBT) ที่เน้นการแก้ไขพฤติกรรมและความคิดที่ไม่ดี

  • การรักษาด้วยยา (Medications)

การใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressants) เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ของเรา ยาต้านเศร้าอาจใช้ร่วมกับการบำบัดทางจิตและการดูแลตัวเองเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

  • การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (dTMS)

หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการบำบัดทางจิต การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Deep Transcranial Magnetic Stimulation : dTMS) เป็นทางเลือกที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดกระแสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมอง ในการที่จะปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า อย่าลังเลที่จะเข้ารับคำปรึกษาและการรักษาจาก โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต Bangkok Mental Health Hospitalหรือ BMHH เพื่อช่วยให้คุณกลับมามีชีวิตที่สดใสอีกครั้ง

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit