ลำพังความพร้อมด้านองค์ความรู้อาจไม่เพียงพอต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะต้องถึงพร้อมด้วยปัจจัยอื่นๆ ซึ่งรวมทั้ง "ปัจจัยลงทุน" ที่คอยสนับสนุนนักวิจัยให้ไปต่อได้ถึงฝั่งฝัน
รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงโครงการใหม่ล่าสุดเพื่อส่งเสริมอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการจัดตั้ง "โครงการกองทุนพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์" เพื่อให้การสร้างสรรค์และผลิตงานวิจัยไม่สะดุดขาดตอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการถ่ายทอด หรือการจัดตั้งบริษัท (Spin Off Company) ที่จะเป็นกำลังสำคัญให้กับเศรษฐกิจชาติ อีกทั้งสนับสนุนการเร่งผลผลิตตามนโยบาย BCG
ที่ผ่านมา มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมากและขอรับการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก คือ "นวัตกรรมอาหารฟังก์ชัน" (Functional Food Innovation) ซึ่งวัดกันด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าทางโภชนาการที่มาพร้อมกับรสชาติ
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ มองว่าประเทศไทยได้เปรียบในเรื่องความเป็น "ต้นตำรับของอาหารไทย" ที่มีความกลมกล่อม หอมเครื่องเทศ รสชาติจัดจ้าน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักชิมจากทั่วโลก เป็นปัจจัยและโอกาสสำคัญที่คอยดึงดูดนักลงทุนได้จากทุกทิศทุกทาง
ภารกิจหลักของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่สำคัญเฉพาะการบ่มเพาะสตาร์ตอัพรุ่นใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนสู่เชิงพาณิชย์ด้วยงบประมาณหลักที่จัดสรรให้แต่ละโครงการฯ แต่เพียงเท่านั้น
ยังเสริมด้วยปัจจัยสนับสนุนจาก "โครงการกองทุนพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์" ที่พิจารณาให้ตามความจำเป็นตามจริง ไม่ว่าจะเป็น "ค่าจ้างในการทดสอบ" (Proof of Concept) "ค่าวัสดุพัฒนาต้นแบบ" "ค่าจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ" "ค่าจัดทำแผนธุรกิจการตลาด" ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามสมควร
จนสามารถผลิต "นวัตกรรมต้นแบบ" ก่อนพัฒนาสู่อุตสาหกรรม ภายใต้การปลูกฝังนวัตกรให้ "รับผิดชอบต่อโลก" ด้วยการเติมความ "ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม" ลงไปในทุกกิจกรรม
"อาหารฟังก์ชัน" เกิดจากความต้องการดูแลสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ในขณะที่โจทย์สำคัญที่ท้าทายโลกไม่ใช่เพียงการมีสุขภาพดี แต่จะต้องสามารถ "ดำเนินชีวิตได้อย่างมีอนาคต" ด้วยการ "ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโลก"
มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมสนับสนุนนโยบาย BCG เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้กับเศรษฐกิจชาติ และพร้อมให้กำลังใจนวัตกรสู่การสร้างสรรค์ผลงานต่อไปได้ที่ www.mahidol.ac.th
มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมจัดกิจกรรม "การประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช. ประจำปี 2568" โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช.พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา ร่วมแถลงเป้าหมาย แนวทาง
เอ็มเทค สวทช. จับมือศิริราช ทดสอบทางคลินิก OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมทดแทนกระดูกสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
—
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเ...
ม.มหิดลผุด'กองทุนนวัตกรรม'สร้างสรรค์งานต้นแบบพร้อมปลูกฝังแนวคิดรักษ์โลก
—
ลำพังความพร้อมด้านองค์ความรู้อาจไม่เพียงพอต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะต้องถึงพร้อ...
มหาวิทยาลัยมหิดลจับมือ EDDU สตาร์ทอัพ EdTech ปั้นนักธุรกิจรุ่นใหม่
—
รองศาสตราจารย์ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (ที่ 7 จากซ้าย-แถวยืน) ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจั...
มหาวิทยาลัยมหิดลจับมือ EDDU สตาร์ทอัพ EdTech เพิ่มความแข็งแกร่งนักธุรกิจรุ่นใหม่ด้วย Data for Entrepreneur
—
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิท...
วิศวะมหิดล - NIA ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) ผนึกพลังพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์
—
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี พร้อมด้วย...
นศ.มหิดล คิดค้นระบบป้องกันน้ำท่วมอัตโนมัติ คว้ารางวัลชนะเลิศ "เดลต้าคัพ 2021" เวทีประชันระบบอัตโนมัติระดับโลก
—
สร้างความฮือฮาผงาดบนเวทีระดับนานาชาติ เดลต...
บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ - วิศวะมหิดล ผนึกพลังสู่อนาคตความร่วมมือ-วิจัยพัฒนานวัตกรรม
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์...
วิศวะมหิดล สร้างนวัตกรรม 5 ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ส่งมอบ รพ. สนาม จังหวัดสมุทรสาคร ลดเสี่ยงบุคลากรแพทย์
—
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ...
กรมควบคุมโรค สาธารณสุข สานความร่วมมือกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวะมหิดล
—
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เยี่ย...