วิศวะมหิดล สร้างนวัตกรรม 5 ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ส่งมอบ รพ. สนาม จังหวัดสมุทรสาคร ลดเสี่ยงบุคลากรแพทย์

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย นวัตกร แพทย์และหน่วยงานทุกภาคส่วน ต่างระดมกำลังคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด โดย จ.สมุทรสาคร เป็นจังหวัดแรกที่มีการระบาดระลอกใหม่เนื่องจากเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีแรงงานต่างชาติจำนวนมาก ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทย จำนวน 25,599 ราย ผู้ติดเชื้อสะสมในสมุทรสาคร 16,167 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ก.พ. 64)

วิศวะมหิดล สร้างนวัตกรรม 5 ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ส่งมอบ รพ. สนาม จังหวัดสมุทรสาคร ลดเสี่ยงบุคลากรแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์, รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากรและสื่อสารองค์กร และ ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ พร้อมด้วยทีมงานวิศวกรได้ออกแบบ-ผลิตนวัตกรรมและส่งมอบ 5 ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ให้แก่โรงพยาบาลสนาม จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีประสิทธิภาพและมาตรฐานในการกำจัดเชื้อไวรัสโควิดและเชื้อโรคตามหลักวิศวกรรม เพื่อนำไปใช้ฆ่าเชื้อชุด PPE และอุปกรณ์การแพทย์ ลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ช่วยสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดี เพื่อให้สมุทรสาครกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม คุณวิทยา พิพิธเดชา บริษัท พวพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่ง หนึ่งในผู้อุทิศพื้นที่ของโรงงานกว่า 16 ไร่ จากทั้งหมด 27 ไร่ ให้ใช้เป็นโรงพยาบาลภาคสนาม หรือศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 9 เพื่อการตรวจวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยและพักฟื้นจำนวน 400 เตียง วิศวะมหิดล สร้างนวัตกรรม 5 ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ส่งมอบ รพ. สนาม จังหวัดสมุทรสาคร ลดเสี่ยงบุคลากรแพทย์

รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า นวัตกรรมตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC เป็นผลงานการออกแบบและพัฒนาของทีมงานวิจัย 10 คน ซึ่งมุ่งที่จะมีส่วนช่วยเหลือสังคมในวันที่ยากลำบากของการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ แนวคิดของตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC นี้ ใช้หลักการฉายแสงความยาวคลื่นต่ำ (UVC 220-280 นาโนเมตร) ส่งผลให้โครงสร้างทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสและเชื้อต่างๆถูกทำลาย ซึ่งตู้อบนี้ตอบโจทย์แก่ผู้ใช้งานในโรงพยาบาล, โรงงาน หรือแหล่งบริการต่างๆ โดยมีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และต้องการประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อไวรัสและเชื้อชนิดต่างๆ เหมาะสมกับการอบฆ่าเชื้อ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุดสวมป้องกันส่วนบุคคล (PPE) หรืออุปกรณ์ใช้งานทั่วไป ถัง ตระกร้า เครื่องใช้ครัวเรือน ถุง เป็นต้น

ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC มีขนาดความสูง 150 ซม. ส่วนประกอบหลัก มี 2 ระบบ คือ ระบบโครงสร้างทำจากอลูมิเนียมโปรไฟล์น้ำหนักเบาและพลาสติกอะคริลิคเพื่อป้องกันแสงออกสู่ภายนอก และระบบหลอดฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC โดยติดตั้งหลอด UVC 36 วัตต์ จำนวน 4 หลอด และชุดวงจรสวิตช์ หากฆ่าเชื้ออุปกรณ์และชุด PPE ใช้เวลา 30-60 วินาทีเท่านั้น โดยจัดวางไม่ให้เกิดการบังแสงรังสี เพื่อให้รังสีฉายลงบนชุดและอุปกรณ์ได้อย่างทั่วถึง

จุดเด่น ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC นี้ได้ผ่านการทดสอบมาตรฐาน UVC ด้วยระบบหุ่นยนต์ โดย ศูนย์ FlexLab คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการรับรองการฆ่าเชื้อขั้นต่ำที่ Log Reduction 3 (99.999%) มีน้ำหนักเบา ขนย้ายง่ายและใช้งานง่าย วิธีการใช้งาน 1. เปิดประตูตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC 2. นำสิ่งของ หรือชุดที่ต้องการฆ่าเชื้อใส่เข้าไปในตู้ 3. ปิดประตูตู้อบ 4. เปิดสวิตซ์ให้หลอดทำงาน 5. ตู้จะทำการฆ่าเชื้อประมาณ 30 - 60 วินาที (หากเปิดตู้ระหว่างหลอดทำงาน รังสี UVC จะดับในทันที) 6. เปิดประตูตู้อบ และนำของออก

ทั้งนี้มีข้อแนะนำ 1. ในการอบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC จำเป็นต้องให้รังสีตกกระทบกับพื้นผิวของวัสดุ หรือสิ่งของโดยตรง เพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ หากไม่ตกกระทบโดยตรงให้ทำการจัดเปลี่ยนทิศทางวาง และอบฆ่าเชื้ออีกครั้ง 2. รังสี UVC นั้นมีความอันตรายต่อดวงตา และผิวหนังของมนุษย์ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับรังสี 3. ในการอบฆ่าเชื้อด้วย UVC บางครั้งอาจจะมีกลิ่นอันเนื่องมาจากการระเหยของสารประกอบของวัตถุ หรืออากาศเมื่อสัมผัสกับรังสี

ส่วนในด้านการบำรุงรักษา สามารถทำความสะอาดหลอด UVC ด้วยผ้าแห้งสะอาด และให้มั่นใจว่าไม่มีคราบ หรือสิ่งสกปรกติดกับหลอด หมั่นตรวจสอบสายไฟ และอุปกรณ์ต่อพ่วงทางไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าระบบอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมในการใช้งาน

นับเป็นพลังสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทย เพื่อช่วยเหลือคนไทยและเพื่อนมนุษย์ ฝ่าวิกฤติโควิดและปลอดภัยไปด้วยกัน


ข่าวยศชนัน วงศ์สวัสดิ์+คณะวิศวกรรมศาสตร์วันนี้

มหาวิทยาลัยมหิดล - สวทช. แถลงเป้าหมายและแนวทางโครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ-เสริมแกร่งระบบวิจัยและนวัตกรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมจัดกิจกรรม "การประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช. ประจำปี 2568" โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช.พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา ร่วมแถลงเป้าหมาย แนวทาง

ลำพังความพร้อมด้านองค์ความรู้อาจไม่เพียงพ... ม.มหิดลผุด'กองทุนนวัตกรรม'สร้างสรรค์งานต้นแบบพร้อมปลูกฝังแนวคิดรักษ์โลก — ลำพังความพร้อมด้านองค์ความรู้อาจไม่เพียงพอต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะต้องถึงพร้อ...

รองศาสตราจารย์ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (ที่ ... มหาวิทยาลัยมหิดลจับมือ EDDU สตาร์ทอัพ EdTech ปั้นนักธุรกิจรุ่นใหม่ — รองศาสตราจารย์ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (ที่ 7 จากซ้าย-แถวยืน) ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจั...

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์... วิศวะมหิดล - NIA ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) ผนึกพลังพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์ — มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี พร้อมด้วย...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ... บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ - วิศวะมหิดล ผนึกพลังสู่อนาคตความร่วมมือ-วิจัยพัฒนานวัตกรรม — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์...

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมค... กรมควบคุมโรค สาธารณสุข สานความร่วมมือกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวะมหิดล — นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เยี่ย...