"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้

นางประเทือง วาจรัต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี (สศท.จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างชื่อเสียง และรายได้ให้จังหวัดศรีสะเกษจำนวนมาก ซึ่งทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เป็นหนึ่งในวาระการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรบูรณาการของจังหวัด ที่มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกรในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ข้าว ทุเรียน หอมแดง และพริก

"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้

จากการลงพื้นที่ของ สศท.11 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ พบว่า ปี 2565 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565) มีเนื้อที่ยืนต้น 15,171 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 5,490 ไร่ มีพื้นที่ปลูกอยู่ใน 3 อำเภอ ได้แก่ กันทรลักษ์ ขุนหาญ และ ศรีรัตนะ ซึ่งเป็นแหล่งดินภูเขาไฟที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นเหมาะสม ทำให้เนื้อทุเรียนกรอบนอก นุ่มใน รสชาติดี กลิ่นไม่ค่อยฉุน โดยได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ทั้งนี้ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มุ่งเน้นให้เกษตรกรผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีมาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค

สถานการณ์ผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ พบว่า เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์หมอนทอง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการสูง ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 สำหรับปีนี้ ผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และจะออกต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม 2565 จำนวนทั้งหมด 7,500 ตัน โดยผลผลิตจะออกมากสุดในเดือน มิถุนายน 2565 (คิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษทั้งจังหวัด)

ด้านภาพรวมสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 64 จำหน่ายให้กับล้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ได้แก่อุบลราชธานี ยโสธร และสุรินทร์ รองลงมาร้อยละ 27 จำหน่ายที่สวนให้กับกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือนักท่องเที่ยวทั่วไป และส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 9 จำหน่ายทางออนไลน์ ได้แก่ www.lavadurian.com พร้อมส่งตรงให้ลูกค้าถึงบ้านไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม มีการรับประกันคุณภาพ และผู้ขายยินดีเคลมให้หากทุเรียนด้อยคุณภาพ ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดศรีษะเกษ ได้มีนโยบายในการสนับสนุนด้านการเพาะปลูก การตลาด การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตลอดจนมาตรฐานของสินค้าเพื่อให้ผลผลิตของเกษตรกร มีคุณภาพ ตลอดทั้งการปลูกพืชหลากหลาย ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาด รวมถึงส่งเสริมเกษตรกรขายผ่านตลาดออนไลน์มากขึ้น

"ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นช่วงที่ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาด จังหวัดศรีสะเกษได้มีแคมเปญ "ลูกแรก ดังดวงใจ ทุเรียนภูเขาไฟให้คุณ" เพื่อเปิดฤดูกาล "ช๊อป ชิม ทาน ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" วันที่ 27 พฤษภาคม 2565ณ ไร่สร้างฝัน ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ และการจัดงานครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2565 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จึงขอเชิญชวนผู้บริโภคทุกท่านร่วมสนับสนุนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และเป็นกำลังใจให้พี่น้องเกษตรกรได้ผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพต่อไป" นางประเทือง กล่าว

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค จังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดมาตรการควบคุมและป้องปรามการจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ การสวมสิทธิ์ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มีการจัดทำคำแนะนำผู้ซื้อ ในการเลือกซื้อ การเก็บรักษา วิธีการเคลม รวมทั้งมีช่องทางการร้องเรียนกรณีทุเรียนด้อยคุณภาพผ่าน Application Line โดยการแสกน QR Code หรือ โทรสายด่วนศูนย์ดำรงธรรมฯ 1567 นอกจากนี้ ได้มีจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพ (สารวัตรทุเรียน) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหากรณีที่มีการร้องเรียนทุเรียนภูเขาไฟด้อยคุณภาพ หากท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โทร 0 4561 1397 และ สศท.11 อุบลราชธานี โทร 0 4534 4654 หรืออีเมล [email protected]


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... 'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...