นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่งออกอันดับ เพ็ญศิริ วงษ์วาท ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกจำนวนมาก มีระบบการปลูกที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ส่งผลให้มะม่วงมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ลาว มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา คาดการณ์ปี 2564 ส่งออกผลผลิตประมาณ เพ็ญศิริ วงษ์วาท,8สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ตัน/ปี จึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดที่ต้องเร่งการขยายตลาดส่งออกให้เพิ่มมากขึ้น
จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จังหวัดอุดรธานี พบว่า มีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองประมาณ 6,300 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 6,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 900 - 1,000 กิโลกรัม/ไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอำเภอหนองวัวซอ และกระจายอยู่ในอำเภอน้ำโสม วังสามหมอ กุมภวาปี ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูก 658 ราย ส่วนใหญ่มีการรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ราคาต้นพันธุ์อยู่ที่ 30 - 60 บาท/ต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะม่วงนอกฤดูเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ราคาสูง ซึ่งจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 เริ่มทำนอกฤดูในปีที่ 4 และสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25 ปี) เกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวทั้งหมด 3 รอบ คือ รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม รอบที่ 2 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และรอบที่ 3 ช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจังหวัดอุดรธานี มีผลผลิตจำหน่ายตลอดทั้งปี ซึ่งหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เจ้าหน้าที่ของบริษัทส่งออกจะมารับผลผลิตถึงแหล่งผลิต โดยจะทำการคัดเกรดมะม่วงสำหรับส่งออกตลาดต่างประเทศและในประเทศ หลังจากคัดเกรดผลผลิตแล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อตามมาตรฐานการส่งออก
ด้านสถานการณ์ตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ส่งจำหน่ายตลาดหลักในประเทศ ได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดอุดรเมืองทอง และขายปลีกในจังหวัด ส่วนผลผลิตร้อยละ 30 ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งคุณสมบัติของมะม่วงเพื่อการส่งออกคือ มีผิวนวลสีเหลืองอมเขียวถึงเหลืองอ่อน ไม่มีรอยแมลง รูปร่างไม่ผิดทรงมะม่วง ความแก่ 80 - 90 % โดยมีการแบ่งเป็น 3 เกรด คือ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเกรด A น้ำหนักประมาณ 300 - 600 กรัม/ผล หรือ 2 - 3 ผล/กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 50-70 บาท/กิโลกรัม (ราคา ณ กุมภาพันธ์ 2564) ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีน มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเกรด B น้ำหนักประมาณ 200 - 299 กรัม/ผล หรือ 4 - 5 ผล/กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 25 - 35 บาท/กิโลกรัม ส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว มาเลเซีย และเวียดนาม และมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเกรด C จะมีคุณสมบัติคล้ายกับเกรด B แต่ผิวของมะม่วง สามารถ มีรอยแมลงได้เล็กน้อย โดยราคาขึ้นอยู่ตามเกรด ตลาด และช่วงเวลาการขาย ส่วนมะม่วงผลอ่อนจากการตัดแต่งช่อดอก หรือที่เรียกว่ามะม่วงกะตอย จะเน้นบริโภคเป็นผักเคียงหรือส่วนผสมในอาหารท้องถิ่น ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 7 - 10 บาท/กิโลกรัม จะส่งออกไปยังตลาดประเทศเมียนมา และกัมพูชา ซึ่งมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ อาจส่งผลให้ปริมาณการส่งออกและราคาผลิตผลิตปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มคลี่คลาย คาดว่าทิศทางการส่งออกและราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของจังหวัดอุดรธานี ได้รับมาตรฐานรับรอง GAP จึงเป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าและผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตได้มาตรฐานและมีคุณภาพ อีกทั้ง จังหวัดยังมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ดีไม่มีของเสีย (Zero Waste) ซึ่งผลผลิตทุกส่วนสามารถสร้างรายได้ทั้งหมดไม่เหลือทิ้ง ประกอบกับมีการส่งเสริมด้านการตลาด ภายใต้งานกาชาดมะม่วงแฟร์ของดีหนองวัวซอ และตลาดออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ เพื่อช่วยกระจายรายได้กับเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรสนใจและหันมาปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพิ่มขึ้น และในอนาคตเกษตรกรมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคแอนแทรกโนส โรคขั้วผลเน่า และแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ด้วงเจาะเมล็ดมะม่วง เพลี้ยไฟ แมลงวันผลไม้ และเพลี้ยแป้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิต สำหรับเกษตรกรหรือผู้สนใจต้องการข้อมูลสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของจังหวัดอุดรธานี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.3 อุดรธานี โทร. 04 2292 557 หรืออีเมลล์ [email protected]
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า
—
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้
—
นางประเทือง...
สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...
'ลองกองวังขุม' แปลงใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี คุณภาพมาตรฐาน GAP รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สศท.8 เชิญชวนบริโภค ขณะนี้ออกตลาดแล้ว
—
นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้...
ปีนี้อากาศดี ลำไยภาคเหนือติดดอกมาก ผลผลิตรวมกว่า 9.7 แสนตัน ออกตลาดมากสุด ส.ค. 64 สศท.1 เชิญชวนบริโภคลำไยคุณภาพ ช่วยเหลือเกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำ...
กองทุน FTA หนุนเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อบ้านแสนแก้ว จ.ศรีสะเกษ สร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงาน...
สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
—
นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...
'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...