'อินทผลัม’ พืชเศรษฐกิจมาแรง สร้างรายได้งามกว่า 3 แสนบาท/ไร่

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าปัจจุบัน อินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง เกษตรกรให้ความสนใจเพาะปลูกกันมากขึ้นเนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ในระยะเวลานาน ให้ผลตอบแทนสูง และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง โดยเฉพาะ                ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีการปลูกอินทผลัมประมาณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ไร่ ให้ผลผลิตรวมกว่า 3กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,835 กก./ปี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง

'อินทผลัม’ พืชเศรษฐกิจมาแรง สร้างรายได้งามกว่า 3 แสนบาท/ไร่

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) ติดตามสถานการณ์การผลิตและผลตอบแทนอินทผลัม พบว่า พื้นที่ปลูกกระจายอยู่หลายอำเภอ ส่วนใหญ่พบในอำเภอน้ำพอง ภูเวียง และหนองเรือ เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์บาร์ฮี (Barhi) เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ปลูกและดูแลง่าย ให้ผลผลิตสูง และมีรสชาติหวาน กรอบ เหมาะสำหรับรับประทานผลสด ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ซึ่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ราคาประมาณ 1,800 - 2,300 บาท/ต้น ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพใกล้เคียงกันทุกต้น ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 37,301 บาท/ไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะยาว) นิยมปลูกช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 500 – 2,000 กก./ไร่ (เฉลี่ย 20 - 80 กก./ต้น) คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 383,240 บาท/ไร่ ราคาผลสด ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 300 – 800 บาท/กก. ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของผลผลิต

สำหรับการจำหน่ายผลผลิต ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 แบ่งเป็นจำหน่ายทางออนไลน์และมีลูกค้าประจำมาเลือกซื้อที่สวน ส่วนผลผลิตร้อยละ 20 มีพ่อค้าคนกลางทั้งในและนอกจังหวัดขอนแก่นมารับซื้อที่สวนเพื่อส่งขายต่อไปยังจังหวัดใกล้เคียง นอกจากจะจำหน่ายแบบผลสดแล้ว เกษตรกรยังนำผลผลิตอินทผลัมมาแปรรูปเป็นน้ำอินทผลัม และอินทผลัมอบแห้ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

ด้านนายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการ สศท.4 กล่าวเสริมว่า สำหรับการปลูกอินทผลัม ถึงแม้จะมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงกว่าพืชอื่น ๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับก็ถือว่าคุ้มค่า นอกจากนี้ เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคศัตรูพืชและแมลง ที่อาจมาทำลายและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิตได้ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรที่สนใจปลูกอินทผลัม ควรศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ตนเอง เพราะถึงแม้อินทผลัมจะเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่ยังคงต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผลผลิตโตอย่างเต็มที่ และมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดอินทผลัมจังหวัดขอนแก่น สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.4 โทร. 0 4326 1513 หรืออีเมล [email protected]  


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... 'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...