มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เสริมความเข้าใจ ให้คนไทยรู้เท่าทันมะเร็งปอด

          มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ร่วมสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยร้ายของมะเร็งปอด ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดทั่วโลก และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับ 1 ในประเทศไทย จัดโครงการ "Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ" พร้อมจัดนิทรรศการอินเตอร์แอคทีฟเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขภาพปอด ภัยร้ายที่ทำลายปอด และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด ภายในงานยังได้รับเกียรติจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งมาให้ความรู้เพื่อพิชิตมะเร็งปอด พร้อมด้วยดารานักแสดงและนักกิจการเพื่อสังคมมาร่วมกิจกรรมรณรงค์ในโครงการฯ
          รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ นายกสมาคมมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดทั่วโลก โดยในปี2558 มีผู้ป่วยมะเร็งปอดมากถึง 1.7 ล้านคนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับหนึ่ง โดยมีตัวเลขผู้เสียชีวิตกว่า 17,600 คนในปี 2557 ในแต่ละปีประเทศไทยจะพบผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ประมาณ 20,000 ราย และอัตราผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดยังสูงถึง 40% เนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่ปรากฏอาการทางปอดมาก่อน กว่าจะค้นพบว่าเป็นมะเร็งปอดก็เมื่อมีอาการจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 6 เดือน"
          เนื่องในวันมะเร็งปอดสากลที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 1 สิงหาคม มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ในฐานะศูนย์รวมบุคลากรทางการแพทย์ในสาขามะเร็งวิทยา ซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการส่งเสริม ดูแล และให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งแก่ประชาชนชาวไทย จึงเดินหน้าจัดโครงการ "Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ" เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้ประชาชนชาวไทยรู้เท่าทันโรคมะเร็งปอด ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด และการเฝ้าระวังดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปอด พร้อมจัดนิทรรศการแบบอินเตอร์แอคทีฟที่ให้ทั้งความรู้คู่ความสนุก การเสวนาให้ความรู้เรื่องมะเร็งปอดและการดูแลตนเองเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา การตรวจสุขภาพเบื้องต้นและตรวจสมรรถภาพปอด การแบ่งปันประสบการณ์และเคล็ดลับการดูแลสุขภาพของดารานักแสดงและผู้ร่วมสนับสนุนโครงการฯ นำโดย หมอเจี๊ยบ– แพทย์หญิงลลนา ก้องธรนินทร์, หมอเอิง – แพทย์หญิงอังศ์วรา ธีระตันติกานนท์, คุณอาเล็ก - ธีรเดช เมธาวรายุทธ ร่วมด้วย คุณออย - ไอรีล ไตรสารศรี ผู้ก่อตั้งโครงการ ART .for. Cancer 
          และหมอบัว– ดร. แพทย์หญิงประกายทิพ สุศิลปรัตน์ แพทย์ชำนาญการพิเศษด้านเวชกรรมและเจ้าของเฟซบุคเพจ สู้สิแม่ ก็แค่มะเร็ง รวมถึงกิจกรรมประมูลของที่ระลึกจากดารานักแสดง ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะนำเข้ามะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปทำประโยชน์แก่ผู้ป่วยมะเร็งต่อไป
          รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิโรจน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า "การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปอด ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบ 10-30 เท่า และยิ่งสูบนานยิ่งมีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันแม้จะมีการรณรงค์งดสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง แต่อุบัติการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดกลับไม่ได้ลดลง เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การได้รับสารพิษ ควันบุหรี่ (บุหรี่มือสอง) รังสี ฝุ่น ไอระเหย และโลหะต่างๆ เป็นระยะเวลานาน รวมถึงปัจจัยด้านพันธุกรรม โดยผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนทั่วไป แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม"
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา อายุรแพทย์มะเร็ง โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวเสริมว่า "ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะมีอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเซลล์มะเร็งปอดอยู่ที่ตำแหน่งไหนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก บางรายอาจมีอาการทางระบบประสาทถ้าเซลล์มะเร็งปอดแพร่กระจายไปที่สมองหรือไขกระดูกสันหลัง เช่น แขนขาอ่อนแรง ชา กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ หรือบางรายมีอาการปวดกระดูกมากถ้าเซลล์มะเร็งปอดได้แพร่กระจายไปที่กระดูกแล้ว เป็นต้น"
          "ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากทั้งในด้านการวินิจฉัยและรักษา มะเร็งปอดจึงไม่น่ากลัวอย่างที่คิด การรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีหลายวิธี การผ่าตัดเป็นวีธีการที่ได้ผลดีที่สุดหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก ซึ่งเทคนิคการผ่าตัดปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้ามาก ผู้ป่วยจึงสามารถฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนการรักษามะเร็งปอดระยะลุกลาม สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ปัจจุบันมีการพัฒนายาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ๆ ที่มีผลข้างเคียงน้อยลง รวมถึงการพัฒนายากลุ่มใหม่ๆ ที่ได้ผลดีมากในการรักษาอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด ปัจจุบันวงการแพทย์ยังมีวิธีการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งเป็นการรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์ให้ผลเฉพาะจุดและทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาดังกล่าวจะได้ผลดีมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR และยีน ALK ที่มีบทบาทต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ผลวิจัยพบว่ายารักษาแบบมุ่งเป้านี้สามารถควบคุมมะเร็งปอดได้ดี และมีผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าการใช้ยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ ปัจจุบัน ยังมีการรักษาด้วยยาใหม่อีกกลุ่มหนึ่งคือ ยากระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกายให้ต่อสู้กับมะเร็งอีกด้วย" 
          "โรคมะเร็งปอดก็เหมือนโรคเรื้อรังทั่วไปที่วิทยาการทางการแพทย์สามารถรักษาได้ ถ้ามีอาการหนักมากก็อาจจะต้องเพิ่มยาหรือเปลี่ยนยา และเมื่ออาการทุเลาลงก็สามารถลดหรือหยุดยาได้ แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด และจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมภูมิคุ้มกันชาวไทยทุกคนให้ห่างไกลจากมะเร็งปอด คือ การดูแลสุขภาพตนเองอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และหยุดสูบบุหรี่ทั้งเพื่อตัวเราเองและคนรอบข้าง และถ้ามีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เร็วและดีที่สุด เนื่องจากมะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธัญนันท์ กล่าวทิ้งท้าย
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เสริมความเข้าใจ ให้คนไทยรู้เท่าทันมะเร็งปอด
 
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เสริมความเข้าใจ ให้คนไทยรู้เท่าทันมะเร็งปอด
 
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เสริมความเข้าใจ ให้คนไทยรู้เท่าทันมะเร็งปอด
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “Lung Live: รายงานสดจากช่องอกคุณ” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เสริมความเข้าใจ ให้คนไทยรู้เท่าทันมะเร็งปอด

ข่าวมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย+มะเร็งวิทยาสมาคมวันนี้

“อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์” (Art for Cance)r เปิดตัวโครงการ “ก้าวข้ามมะเร็ง” ส่งต่อ “ยากำลังใจ” สู่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วประเทศไทย พร้อม “แบงค์ – นิหน่า – อีฟ” ผู้มีประสบการณ์ตรง

เนื่องในวันมะเร็งโลก โครงการเพื่อสังคม อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล (Art for Cancer by Ireal) ร่วมกับบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด, กรมการแพทย์, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สถานวิทยามะเร็งศิริราช และมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เปิดตัวโครงการ "ก้าวข้ามมะเร็ง" เพื่อส่งต่อ "ยากำลังใจ" สู่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วประเทศไทย "ยากำลังใจ" เป็นสื่อให้ความรู้เชิงสร้างสรรค์ ที่มาพร้อมกับคิวอาร์ โค้ด (QR Code) ผ่านทัศนคติเชิงบวกในการรับมือกับโรคมะเร็ง และการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคร้ายแรงนี้ อีกทั้งยัง

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้บริจา... ไฟเซอร์บริจาคยามะเร็งเต้านมให้มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย — บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้บริจาคยารักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบพุ่งเป้าให้กับมะเร็งวิทย...

บัญชีกลางแจงการปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและค่าโลหิตวิทยา

กรมบัญชีกลางชี้แจงการปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและค่าโลหิตวิทยา นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงสิทธิการเบิกจ่ายค่ายารักษามะ...

ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงาน... ภาพข่าว: ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงานของโปรตีนซีดีเค4/6 — ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงานของโปรตีนซีดีเค4/6 ที่ได้รับการรับรองจาก อ...

มะเร็งยังคงเป็นโรคคร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดั... ส่องกล้องทางเดินอาหารฯ ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกหนึ่งมิติใหม่แห่งการให้ของรพ.จุฬา — มะเร็งยังคงเป็นโรคคร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้...