เกษตรกรเกาะพะงัน ร่วมแปลงใหญ่ รุกขยายพื้นที่มะพร้าวอินทรีย์สู่เส้นชัย 1,500 ไร่ ในปี 64

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ถอดบทเรียนกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวอำเภอเกาะพะงัน ตามโครงการศึกษาแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในระดับพื้นที่ เผย เกษตรกรจำนวนมากให้ความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์โดยกลุ่มชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน กำหนดเป้าหมายขยายพื้นที่มะพร้าวอินทรีย์ในเกาะพะงันให้ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,5สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ไร่ ภายในปี 2564 และได้เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่เพื่อร่วมกันบริหารจัดการผลผลิตมะพร้าวเกาะพะงันแบบครบวงจรแล้ว 
          นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศ เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 256สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ – 2564 ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมทั้งการเพิ่มพื้นที่การผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรอินทรีย์
          ในการนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) ได้จัดทำโครงการศึกษาแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในระดับพื้นที่ โดยศึกษาทบทวนสถานการณ์ แนวคิดทัศนคติในการทำเกษตรอินทรีย์ ศักยภาพการผลิตการตลาด ปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งถอดบทเรียนจากเกษตรกรต้นแบบและผู้ประกอบการ เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้เหมาะสมตามภูมินิเวศน์และภูมิสังคม โดยปัจจุบันพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากภาครัฐยังมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนมะพร้าว(ที่นำมาทำกะทิ) และสวนผลไม้แบบผสมผสาน เช่น มังคุด ลองกอง เงาะ ทุเรียน เป็นต้น รวมประมาณ 43สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ไร่ 
          อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบกลุ่มจากหน่วยงานรัฐ มีเพียงกลุ่มชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงันที่เคยได้รับการรับรองการเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System – PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์ มูลนิธิสายใยแผ่นดินร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนเกาะพะงัน เนื่องจากเกษตรกรและผู้ประกอบการบนเกาะ มีแผนที่จะขายผลผลิตอินทรีย์เฉพาะในท้องถิ่น โดยเฉพาะมะพร้าวของเกาะพะงันซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI)
          ด้านนายธรณิศร กลิ่นภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) เปิดเผยว่า จากการถอดบทเรียนกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวอำเภอเกาะพะงัน มีสมาชิกชาวสวนมะพร้าว 34 ราย พื้นที่มะพร้าวอินทรีย์รวม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์67 ไร่ กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการ คือ การเพาะปลูกมะพร้าวเพื่อขายผลสด แปรรูปเป็นมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนำไปจำหน่ายในตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวภายในเกาะ ซึ่งผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ยังประสบปัญหาด้านการผลิตในเรื่องของศัตรูพืช และปัญหาราคาผลผลิตมะพร้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้แตกต่างจากราคามะพร้าวทั่วไป รวมทั้งการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้ามีปริมาณน้อย ขาดการส่งเสริมด้านการตลาดชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดจำหน่าย
          ทั้งนี้ ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ให้ความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์และอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนลดการใช้สารเคมี โดยกลุ่มชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงันได้กำหนดเป้าหมายขยายพื้นที่มะพร้าวอินทรีย์ในเกาะพะงันให้ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,5สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ไร่ ภายในปี 2564 อีกทั้งในปีงบประมาณ 256สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ยังได้เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อร่วมกันบริหารจัดการผลผลิตมะพร้าวเกาะพะงันแบบครบวงจรอีกด้วย ซึ่งหลังจากนี้ สศท.8 จะได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้ข้อคิดเห็นเพื่อจัดทำแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นต่อไป ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่77 3กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 597 อีเมล [email protected]
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... 'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...