(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131205/658175-a-INFO)
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131205/658175-b-INFO)
การสรุปนโยบาย (Policy Brief) หัวข้อ “ผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมทั่วโลกระหว่างปี 2556 - 2593” ยังได้มีการรายงานตัวเลขคาดการณ์ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ครั้งแรกของ ADI ในรายงานอัลไซเมอร์สากลประจำปี 2552
แม้ว่าประเทศที่ร่ำรวยอย่างกลุ่ม G8 ได้รับมือกับผลกระทบอันหนักหน่วงจากการแพร่ระบาดของโรคสมองเสื่อม แต่โรคดังกล่าวถือเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก โดยในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า โรคสมองเสื่อมจะแพร่กระจายไปยังกลุ่มประเทศยากจน และประเทศที่มีฐานะปานกลางมากขึ้นเป็นสัดส่วนถึง 71% ภายในปี 2593
มาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann) กรรมการผู้อำนวยการ ADI กล่าวว่า “ก่อนที่การประชุมโรคสมองเสื่อมของกลุ่ม G8 (G8 Dementia Summit) จะเริ่มต้นขึ้นในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โรคสมองเสื่อมไม่ได้เป็นเพียงวาระของกลุ่ม G8 เท่านั้น แต่เป็นวาระของทุกๆประเทศ ที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อส่งเสริมการจัดทำงานวิจัยโรคสมองเสื่อมอย่างยั่งยืน”
ศาสตราจารย์ มาร์ติน พรินซ์ (Martin Prince) จากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน และผู้เขียน Policy Brief กล่าวว่า “ในปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศที่ร่ำรวยกำลังให้ความสนใจต่อโรคสมองเสื่อม โดยโรคดังกล่าวถือว่าเป็นวาระระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศกำลังพัฒนาที่มีทรัพยากรและเวลาที่จำกัดที่จะพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคม สุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างครอบคลุม ในขณะที่พวกเราทุกคนต่างคาดหวังให้เกิดความก้าวหน้าในการรักษาโรค ซึ่งสามารถลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในไม่ช้า เราจำเป็นต้องหันมาร่วมมือกัน เพื่อกำจัดช่องว่างระหว่างการวินิจฉัยและการรักษาโรค เพราะไม่มีใครควรถูกละทิ้งจากการให้ความช่วยเหลือและบริการรักษาโรค”
รัฐบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคสมองเสื่อม โดยมีเพียง 13 ประเทศเท่านั้นที่มีการใช้แผนป้องกันโรคสมองเสื่อมในระดับประเทศ รัฐบาลในแต่ละประเทศควรมีการหารือในระดับประเทศ เพื่อพูดคุยถึงขั้นตอนการเตรียมตัวรับมือในอนาคต รวมถึงการจัดสรรงบประมาณเพื่อการรักษาโรคในระยะยาว นับเป็นความจำเป็นอันเร่งด่วนในการกำหนดแผนงานเชิงรุกร่วมกันทั่วโลกระหว่างรัฐบาล อุตสาหกรรมและองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ เช่น บรรดาสมาคมอัลไซเมอร์ทั่วโลก
ทั้งนี้ ทั่วโลกควรหันมาให้ความสำคัญกับการจัดทำงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพและความครอบคลุมของบริการด้านสุขภาพ คิดค้นวิธีการรักษาโรค ตลอดจนเพิ่มช่องทางในการป้องกันโรค และควรให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย บริการสุขภาพ สวัสดิการสังคมและการพัฒนาระบบสาธารณสุขอย่างเท่าเทียมกัน
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
สามารถดูข้อสรุปนโยบายฉบับเต็มได้ที่: http://www.alz.co.uk/G8policybrief
ADI จะเปิดเผยรายชื่อสมาคมอัลไซเมอร์ในกลุ่ม G8 ที่เป็นสมาชิกภายในการประชุม G8 Dementia Summit.
รายชื่อบุคคลที่พร้อมให้การสัมภาษณ์
เกี่ยวกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล
สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer’s Disease International) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกซึ่งประกอบด้วยสมาคมอัลไซเมอร์ 79 แห่งทั่วโลก โดยสมาชิก 79 แห่งทั่วโลกนั้นล้วนเป็นองค์กรอัลไซเมอร์ที่ไม่แสวงผลกำไร ที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วย ADI ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 และได้จดทะเบียนในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐ โดยมีสำนักงานอยู่ที่กรุงลอนดอน ADI ยังได้ประสานงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2539 และองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) ตั้งแต่ปี 2555
วิสัยทัศน์ของ ADI คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วยทั่วโลก ADI เชื่อว่า กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการกับโรคสมองเสื่อมนั้น เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างโซลูชั่นระดับโลกและองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น ดังนั้น ADI จึงมีการประสานงานในระดับท้องถิ่น ผ่านการร่วมงานกับสมาคมอัลไซเมอร์เพื่อส่งเสริม ส่งมอบบริการรักษาโรคและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและผู้ดูแล ขณะที่มีการดำเนินงานในระดับโลก เพื่อให้ความสำคัญต่อโรคสมองเสื่อมและแคมเปญต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายของทางรัฐบาล
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.alz.co.uk
สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
อนาซตาเชีย โซมา (Anastasia Psoma)
เจ้าหน้าที่โครงการ, สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล
อีเมล [email protected]
โทร. +44(0)7990-869-052
แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit