รายงานล่าสุดเผยทั่วโลกเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์เกิน 1% ของจีดีพีโลก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ลอนดอน--21 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์


รายงานสำคัญเรื่องผลกระทบของโรคสมองเสื่อมที่มีต่อเศรษฐกิจโลกระบุว่า โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ รายงานอัลไซเมอร์โลก 2553 ซึ่งเผยแพร่ในวันอัลไซเมอร์โลกโดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) นำเสนอภาพรวมที่ทันยุคสมัยและครอบคลุมที่สุดเกี่ยวกับผลกระทบของโรคดังกล่าวที่มีต่อสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก โดยรายงานดังกล่าวร่วมกันเขียนโดย ศจ.แอนเดอร์ส วิโม (Prof Anders Wimo) จากสถาบัน Karolinska Institutet ในกรุงสตอกโฮล์ม และ ศจ.มาร์ติน พรินซ์ (Prof Martin Prince) จากสถาบันจิตวิทยา คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King's College London)

สามารถชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: ( http://multivu.prnewswire.com/mnr/prne/adi/44222/ )

“รายงานฉบับนี้กระตุ้นให้สังคมตระหนักว่าโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ เป็นวิกฤตการณ์ทางสังคมและสุขภาพที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21” ดร.เดซี่ อาคอสต้า (Dr Daisy Acosta) ประธาน ADI กล่าว “รัฐบาลของนานาประเทศทั่วโลกไม่ได้เตรียมรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากโรคนี้เลย”

รายงานดังกล่าวเปิดเผยว่า:

ทั่วโลกจะเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมเกิน 1% ของจีดีพีโลกในปีนี้ ที่ระดับ 6.04 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

- หากเปรียบโรคสมองเสื่อมเป็นประเทศก็จะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 18 ของโลก หากเปรียบเป็นบริษัทก็จะเป็นบริษัทที่มีรายได้ต่อปีมากที่สุดในโลกแซงหน้า วอล-มาร์ท (Wal-Mart) และ เอ็กซอน โมบิล (Exxon Mobil)

- จำนวนผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าภายในปี 2573 และเพิ่มขึ้นเกิน 3 เท่าในปี 2593

- ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้เป็นโรคสมองเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีระบบสวัสดิการสังคมที่เป็นทางการมากขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำให้มีต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) มากขึ้น

- รายงานหลายฉบับจากประเทศต่างๆ อาทิ สหราชอาณาจักร บ่งชี้ว่าโรคสมองเสื่อมเป็นหนึ่งในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด แต่การลงทุนและวิจัยโรคดังกล่าวยังน้อยกว่าโรคอื่นๆ มาก

“ระดับของวิกฤตของโรคทำให้ตระหนักว่าประชาคมโลกต้องร่วมมือกันดำเนินการในเรื่องนี้” มาร์ก เวิร์ธมานน์ (Marc Wortmann) กรรมการบริหารของ ADI กล่าว “ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเราสามารถควบคุมและป้องกันโรคที่มีความร้ายแรงได้ด้วยความตระหนักรู้ของประชาคมโลกและความตั้งใจของนักการเมืองในการลงทุนด้านการวิจัยและดูแลรักษาโรค รัฐบาลต้องยกระดับความสำคัญของโรคสมองเสื่อมและพัฒนาแผนระดับชาติในการจัดการกับโรค”

“รายงานฉบับใหม่นี้ทำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจนและครอบคลุมที่สุดว่าโรคสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโลกอย่างไร” ศจ.แอนเดอร์ส วิโม ผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าว

ติดต่อ:

หลุยส์ แพรทท์ (Louise Pratt)

คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน

โทร: +44-20-78485378

อีเมล: [email protected]

ซาราห์ สมิธ (Sarah Smith)

เอดีไอ ลอนดอน

โทร: +44-20-79810880

อีเมล: [email protected]

ไนล์ส แฟรนท์ซ (Niles Frantz)

สมาคมโรคอัลไซเมอร์สหรัฐอเมริกา

โทร: +1 312-335-5777

อีเมล: [email protected]

แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --


ข่าวสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล+รายงานอัลไซเมอร์โลกวันนี้

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 เผยการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การเงิน และสังคม

เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ สนับสนุนการวินิจฉัยและการรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 ที่เผยแพร่ในวันนี้โดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) เผยให้เห็นว่า มีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในบางกรณีอาจมีผลการรักษาที่ดีกว่าหากเริ่มดำเนินการอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการตรวจวินิจฉัยโรคแต่เนิ่นๆและการรักษาในเวลาที่เหมาะสมยังส่งผลดีทางเศรษฐกิจด้วย สำหรับการเตรียมรายงานในหัวข้อ “ประโยชน์ของการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

รายงานล่าสุดเผยทั่วโลกเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์เกิน 1% ของจีดีพีโลก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รายงานสำคัญเรื่องผลกระทบของโรคสมองเสื่อมที่มีต่อเศรษฐกิจโลกระบุว่า โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า...

สรุปข่าวเอเชียเน็ทประจำวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552

โรคอัลไซเมอร์ นิวยอร์ก: รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...

รายงานล่าสุดเผยปีหน้าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...

วารสาร Lancet Neurology เผยรายงานการวิจัยครั้งสำคัญ ตอกย้ำพันธกิจระยะยาวในการต่อสู้กับโรคสมองเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ชีวิตร่วมรณรงค์จัดการกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในวารสาร Lancet Neurology ฉบับเดือนเมษายน สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) มีความยินดี...

โรคสมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคนี้

ในการสรุปนโยบายวันนี้ สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกในปี 2556 อยู่ที่ประมาณ 44 ล้านราย (จากระดับ 35 ล้านรายที่ได้คาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2553) และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นแตะ 76...

Memory Walk การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อรำลึกถึงโรคอัลไซเมอร์ครั้งแรกของโลกที่ไต้หวัน

ในช่วงเดือนแห่งโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งตรงกับเดือนก.ย. ของทุกปีนั้น จะมีการจัด Memory Walk ซึ่งเป็นการร่วมเดินรณรงค์ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม แต่การ...

รายงาน World Alzheimer Report 2012 เผยการถูกตราหน้าและกีดกันจากสังคมถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล

- 75% ของผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมและ 64% ของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยเชื่อว่ายังมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมในประเทศของตนเอง - 40%...

องค์การอนามัยโลกร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลชี้โรคจิตเสื่อมต้องได้รับการจัดอันดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในด้านอนามัยโลก

รายงานฉบับใหม่เรียกร้องให้นานาประเทศจัดอันดับโรคจิตเสื่อมเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุข รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI...