Memory Walk การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อรำลึกถึงโรคอัลไซเมอร์ครั้งแรกของโลกที่ไต้หวัน

ลอนดอน--22 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


ในช่วงเดือนแห่งโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งตรงกับเดือนก.ย. ของทุกปีนั้น จะมีการจัด Memory Walk ซึ่งเป็นการร่วมเดินรณรงค์ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม แต่การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันนี้ ระหว่างการประชุมของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ครั้งที่ 28 ณ กรุงไทเป การเดินรณรงค์ดังกล่าวสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 4,000 คน จาก 35 ประเทศ รวมถึงประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-Jeou) ของไต้หวันอีกด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลของไต้หวันเพิ่งประกาศเตรียมจัดทำแผนอัลไซเมอร์ระดับชาติ

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130422/610752-a )

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130422/610752-b )

องค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) เปิดเผยว่า ในปี 2553 มีผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคจิตเสื่อมอื่นๆกว่า 36 ล้านคน โดยจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 7.7 ล้านคนในแต่ละปี หรือในทุกๆ 4 วินาที จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1 คนทั่วโลก โรคอัลไซเมอร์ส่งผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อครอบครัวผู้ป่วย และสังคม ซึ่งหากเราไม่รีบหาทางแก้ปัญหาแล้วโรคอัลไซเมอร์จะกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพ และเป็นภาระการดูแลของสังคมที่ใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 21 ในวันนี้ ผู้คนกว่า 3,000 คนมารวมตัวกันในกรุงไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม นอกจากนี้ ประธานาธิบดีหม่ายังได้ร่วมเดินรณรงค์และปราศรัยกับกลุ่มตัวแทน ตลอดจนประกาศประเด็นสำคัญๆที่น่าเป็นห่วง 7 ประเด็นในนโยบายสาธารณะซึ่งรวมถึง การศึกษา การรักษาที่ดียิ่งขึ้น และการให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วย

ตัวแทนส่วนใหญ่เตรียมเข้าร่วมการประชุมของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลครั้งที่ 28 ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยหัวข้อประชุมเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แนวทางปฏิบัติในการรักษาโรคจิตเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ นโยบายปัจจุบันของประเทศต่างๆทั่วโลก และการดำเนินงานของสมาคมอัลไซเมอร์ในประเทศเหล่านั้น เป็นต้น

“โรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อมอื่นๆมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้ป่วย และครอบครัวของพวกเขา ซึ่งเราจะต้องตระหนักถึงสิ่งต่างๆมากมายที่เราสามารถทำได้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา” นายมาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann) กรรมการผู้อำนวยการ ADI กล่าว “ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับโรคจิตเสื่อมจะช่วยให้ครอบครัวผู้ป่วยสามารถรับมือกับโรค และคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น” ในการประชุม จะมีการนำเสนอโครงการสนับสนุนดีๆมากมาย รวมถึงการวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา แนวทางการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจิตเสื่อม และประเทศที่ได้ดำเนินการใช้แผนอัลไซเมอร์ระดับชาติ “เรากระตุ้นให้รัฐบาลของทุกประเทศสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และให้ตระหนักถึงโรคจิตเสื่อมในฐานะปัญหาด้านสุขภาพระดับชาติ และเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรก” ดร. เจค็อบ รอย คิวเรียโคส (Dr. Jacob Roy Kuriakose) ประธาน ADI กล่าว

ขณะนี้ ADI กำลังดำเนินการจัดประชุมร่วมกับสมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งไต้หวัน (Taiwan Alzheimer’s Disease Association: TADA)

เกี่ยวกับ ADI

สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer’s Disease International) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกซึ่งประกอบด้วยสมาคมอัลไซเมอร์ 79 แห่งทั่วโลก โดยสมาคมอัลไซเมอร์ในประเทศต่างๆให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย ADI ยังได้ประสานงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2539 และองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) ตั้งแต่ปี 2555 โดยวิสัยทัศน์ของ ADI คือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และครอบครัวของผู้ป่วยทั่วโลก

เกี่ยวกับ TADA

สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งไต้หวัน (Taiwan Alzheimer’s Disease Association: TADA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 และเข้าเป็นสมาชิกของ ADI อย่างเต็มตัวในปี 2548 โดยมีวิสัยทัศน์คือ การสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านั้น รวมถึงการสร้างโลกที่ปราศจากโรคจิตเสื่อม

ติดต่อ

ต่างประเทศ: มาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann)

กรรมการผู้อำนวยการ ADI

อีเมล: [email protected]

มือถือ: +31-653-131-811

ไต้หวัน: ซิน-ผิง หง (Hsin-Ping Hung) TADA

อีเมล: [email protected]

แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

-ปม-

ข่าวสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล+ระดับนานาชาติวันนี้

MEDEZE ต้อนรับคณะผู้บริหาร ABRM ร่วมหารือความร่วมมือยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) "MEDEZE" ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก American Board of Regenerative Medicine (ABRM) นำโดย Dr. Rozina Badal Munir Global Development Director, American Society of Regenerative Medicine, American Board of Regenerative Medicine องค์กรระดับนานาชาติที่มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผ่านการรับรองวิชาชีพ การศึกษา และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านการรักษาด้วยเซลล์และเทคโนโลยีชีวภาพล้ำสมัย ในโอกาสเข้า

วารสาร Lancet Neurology เผยรายงานการวิจัยครั้งสำคัญ ตอกย้ำพันธกิจระยะยาวในการต่อสู้กับโรคสมองเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ชีวิตร่วมรณรงค์จัดการกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในวารสาร Lancet Neurology ฉบับเดือนเมษายน สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) มีความยินดี...

โรคสมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคนี้

ในการสรุปนโยบายวันนี้ สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกในปี 2556 อยู่ที่ประมาณ 44 ล้านราย (จากระดับ 35 ล้านรายที่ได้คาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2553) และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นแตะ 76...

Memory Walk การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อรำลึกถึงโรคอัลไซเมอร์ครั้งแรกของโลกที่ไต้หวัน

ในช่วงเดือนแห่งโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งตรงกับเดือนก.ย. ของทุกปีนั้น จะมีการจัด Memory Walk ซึ่งเป็นการร่วมเดินรณรงค์ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม แต่การ...

รายงาน World Alzheimer Report 2012 เผยการถูกตราหน้าและกีดกันจากสังคมถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล

- 75% ของผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมและ 64% ของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยเชื่อว่ายังมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมในประเทศของตนเอง - 40%...

องค์การอนามัยโลกร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลชี้โรคจิตเสื่อมต้องได้รับการจัดอันดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในด้านอนามัยโลก

รายงานฉบับใหม่เรียกร้องให้นานาประเทศจัดอันดับโรคจิตเสื่อมเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุข รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI...

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 เผยการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การเงิน และสังคม

เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ สนับสนุนการวินิจฉัยและการรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 ที่เผยแพร่ในวันนี้โดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI...

รายงานล่าสุดเผยทั่วโลกเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์เกิน 1% ของจีดีพีโลก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รายงานสำคัญเรื่องผลกระทบของโรคสมองเสื่อมที่มีต่อเศรษฐกิจโลกระบุว่า โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า...

สรุปข่าวเอเชียเน็ทประจำวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552

โรคอัลไซเมอร์ นิวยอร์ก: รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...

รายงานล่าสุดเผยปีหน้าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...