รายงาน World Alzheimer Report 2012 เผยการถูกตราหน้าและกีดกันจากสังคมถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล

ลอนดอนและนิวยอร์ก--21 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


- 75% ของผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมและ 64% ของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยเชื่อว่ายังมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมในประเทศของตนเอง

- 40% ของผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมรายงานว่าถูกหลีกเลี่ยงหรือได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไป

- รายงานได้แนะนำ 10 ประเด็นที่สำคัญสำหรับรัฐบาลและสังคมในการยอมรับผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมเข้าร่วมกิจกรรมประจำวัน

รายงาน World Alzheimer Report ฉบับล่าสุดในหัวข้อ: เอาชนะตราบาปจากอัลไซเมอร์ (Overcoming the stigma of dementia) ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้โดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI) เปิดเผยว่า เกือบหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม (24%) ซ่อนหรือปกปิดผลการวินิจฉัยโรคของตน โดยอ้างการถูกตราหน้าว่าคือเหตุผลหลักของการปกปิด นอกจากนี้ 40% ของผู้ที่ป่วยโรคจิตเสื่อมรายงานว่าถูกไม่ให้เข้าร่วมในกิจกรรมประจำวัน เรื่องที่น่าตกใจก็คือ เกือบสองในสามของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและที่ผู้ดูแลเชื่อว่ามีการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเสื่อมในประเทศของตน

World Alzheimer Report 2012 นำเสนอคำแนะนำ 10 ประเด็นเพื่อให้รัฐบาลและสังคมเอาชนะการถูกตราหน้า ซึ่งรวมไปถึงการให้การศึกษาแก่สังคมในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตอบแบบสอบถามชี้ว่าการศึกษาและการรับรู้ควรได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือการกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมแบ่งปันประสบการณ์และเพื่อรับประกันว่าพวกเขาได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกิจกรรมประจำวัน

นิโคล แบทช์ ผู้จัดทำรายงาน World Alzheimer Report 2012 แสดงความเห็นว่า “การถูกตราหน้ายังคงเป็นอุปสรรคต่อความคืบหน้าในโครงการริเริ่มเกี่ยวกับโรคจิตเสื่อมอีกหลายประการ เช่น การปรับปรุงการดูแลรักษาและส่งเสริมผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและครอบครัวที่ดูแล ตลอดทั้งการให้ทุนวิจัย รายงาน Alzheimer 2012 เปิดเผยว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์และผู้ดูแลรู้สึกว่าถูกสังคมกีดกัน โดยบางครั้งเป็นการกีดกันจากเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัว สิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ การได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับคนปกติ ด้วยการให้ความสำคัญกับความสามารถของพวกเขาและมองข้ามความผิดปกติ การแก้ปัญหาในประเด็นเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล”

มาร์ค วอร์ทมานน์ กรรมการบริหารของ ADI กล่าวว่า “โรคจิตเสื่อมและอัลไซเมอร์ขยายตัวขึ้นในอัตราที่รวดเร็วเนื่องจากประชากรโลกมีอายุสูงขึ้น และโรคนี้มีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อครอบครัวของผู้ป่วย ตลอดทั้งผลกระทบต่อระบบสวัสดิการสังคมเนื่องจากก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจ หลายประเทศไม่ได้เตรียมความพร้อมและจะยังไม่เตรียมการต่อไปจนกว่าเราจะสามารถเอาชนะการถูกตราหน้าและเพิ่มความพยายามในการค้นหาวิธีรักษาที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม ตลอดทั้งวิธีการรักษาในอนาคต”

รายงาน World Alzheimer Report ฉบับล่าสุดเปิดเผยประเด็นต่อไปนี้:

- 24% ของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและกว่าหนึ่งในสิบของผู้ดูแล (11%) ยอมรับว่าได้หลบซ่อนหรือปกปิดผลการวินิจฉัยโรคจิตเสื่อม โดยผู้ตอบแบบสอบถามอายุต่ำกว่า 65 เชื่อว่าพวกเขาอาจเผชิญกับประเด็นพิเศษในที่ทำงานหรือโรงเรียนของลูกๆ

- 40% ของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมรายงานว่าไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมประจำวัน

เกือบ 60% ของตัวเลขดังกล่าวชี้ว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงพวกเขาหรือขาดการติดต่อภายหลังผลการวินิจฉัยโรค ตามมาด้วยสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาเอง

- หนึ่งในสี่ของผู้ดูแล (24%) รู้สึกว่ายังมีความสัมพันธ์ในเชิงลบในประเทศของพวกเขาเกี่ยวกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม ในขณะที่จำนวนที่ใกล้เคียงกัน (28%) รู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปหรือถูกหลีกเลี่ยง

- ทั้งผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแลยอมรับว่าพวกเขาได้หยุดสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากเกินไป

- การศึกษา ข้อมูล และ การรับรู้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุดเพื่อช่วยลดตราบาปของโรคจิตเสื่อม

รายงาน Alzheimer 2012 รวบรวมจากการสำรวจความเห็นจากประชาชน 2,500 คน (ผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและครอบครัว) ในกว่า 50 ประเทศ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นโรคจิตเสื่อมมากกว่า 50% เพียงเล็กน้อยป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วยและต่ำกว่าครึ่งหนึ่งเพียงเล็กน้อยมีอายุต่ำกว่า 65 ปี วัตถุประสงค์หลักของการสำรวจมีขึ้นเพื่อบันทึกประสบการณ์การถูกตราหน้าส่วนตัวของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและครอบครัวที่ดูแล เพื่อวิเคราะห์ว่า แผนโรคจิตเสื่อมของประเทศมีผลต่อการลดการถูกตราหน้าหรือไม่

โรคจิตเสื่อมได้ทำลายทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และ ผู้ดูแล องค์การอนามัยโลก (World Health Organization—WHO) ประเมินว่า มีผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมเกิดขึ้นในทุกๆ 4 วินาที หากพิจารณาถึงจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีประชาชนป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมทั่วโลกถึง 115 ล้านคนในอีก 40 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเพิ่มภาระในเรื่องสุขภาพและระบบสวัสดิการสังคม ขณะที่มีเพียง 8 ประเทศในบรรดาสมาชิก WHO จากทั้งหมด 193 ประเทศที่มีแผนด้านโรคจิตเสื่อมในระดับประเทศ ซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลต้องทำงานมากขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคม

สามารถชมภาพยนตร์เกี่ยวกับประสบการณ์จากโรคอัลไซเมอร์จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วย และผู้ดูแล จากเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และอินเดีย ได้ที่ http://youtu.be/-TC-KDUhBB0 และ http://www.alz.co.uk/

หมายเหตุถึงบรรราธิการ:

ข้อแนะนำต่อประเด็นการถูกตราหน้าอันเนื่องมาจากโรคจิตเสื่อม

1. ให้การศึกษาแก่สาธารณะ

2. ลดการกีดกันผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อม

3. รับฟังเสียงของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม

4. เคารพในสิทธิของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล

5. ให้ผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมมีส่วนร่วมในชุมชน

6. สนับสนุนและให้การศึกษาแก่ผู้ดูแลอย่างไม่เป็นทางการและผู้ที่รับจ้างดูแล

7. ปรับปรุงคุณภาพด้านการดูแลที่บ้านและบ้านที่ให้การดูแล

8. ปรับปรุงการฝึกอบรมเกี่ยวกับโรคจิตเสื่อมให้กับแพทย์ที่ทำการรักษาในเบื้องต้น

9. เรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำแผนอัลไซเมอร์ในระดับประเทศ

10. เพิ่มการวิจัยวิธีแก้ปัญหาโรคจิตเสื่อม

เกี่ยวกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

ADI เป็นสมาพันธ์ระดับโลกของสมาคมอัลไซเมอร์ 78 สมาคมทั่วโลก ซึ่งมีความผูกพันอย่างเป็นทางการกับองค์การอนามัยโลก ADI มีวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและครอบครัวทั่วโลก ADI เชื่อว่า หัวใจของการเอาชนะในการต่อสู้กับอัลไซเมอร์ขึ้นอยู่กับการผสมผสานในรูปแบบที่แตกต่างระหว่างโซลูชั่นระดับโลกและความรู้ในท้องถิ่น เช่น การประสบความสำเร็จในระดับท้องถิ่น ด้วยการเพิ่มอำนาจให้กับสมาคมอัลไซเมอร์ในด้านการส่งเสริมและนำเสนอวิธีรักษา ตลอดทั้งสนับสนุนผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์และผู้ดูแล ในขณะเดียวกันก็มีการดำเนินงานในระดับโลก เพื่อให้ความสำคัญกับโรคอัลไซเมอร์และการรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายของภาครัฐบาล

รายงาน World Alzheimer Report 2012 ได้รับการเผยแพร่โดย นูทริเชีย แอดวานซ์ เมดิคัล นูทรีชั่น (Nutricia Advance Medical Nutrition) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของบริษัทผู้ผลิตอาหารดานอน (Danone)

แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

-ปม-

ข่าวสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล+อัลไซเมอร์วันนี้

วารสาร Lancet Neurology เผยรายงานการวิจัยครั้งสำคัญ ตอกย้ำพันธกิจระยะยาวในการต่อสู้กับโรคสมองเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ชีวิตร่วมรณรงค์จัดการกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในวารสาร Lancet Neurology ฉบับเดือนเมษายน สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ Lancet Neurology Commission ได้อุทิศวารสาร Lancet Neurology ฉบับที่ 15 ประจำเดือนเมษายน ให้กับการนำเสนอภาพรวม ข้อแนะนำ การดูแลรักษา และการวิจัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในรายงานหัวข้อ "Defeating Alzheimer's disease and other dementias: a priority for European science

โรคสมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคนี้

ในการสรุปนโยบายวันนี้ สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกในปี 2556 อยู่ที่ประมาณ 44 ล้านราย (จากระดับ 35 ล้านรายที่ได้คาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2553) และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นแตะ 76...

Memory Walk การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อรำลึกถึงโรคอัลไซเมอร์ครั้งแรกของโลกที่ไต้หวัน

ในช่วงเดือนแห่งโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งตรงกับเดือนก.ย. ของทุกปีนั้น จะมีการจัด Memory Walk ซึ่งเป็นการร่วมเดินรณรงค์ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม แต่การ...

รายงาน World Alzheimer Report 2012 เผยการถูกตราหน้าและกีดกันจากสังคมถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล

- 75% ของผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมและ 64% ของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยเชื่อว่ายังมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมในประเทศของตนเอง - 40%...

องค์การอนามัยโลกร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลชี้โรคจิตเสื่อมต้องได้รับการจัดอันดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในด้านอนามัยโลก

รายงานฉบับใหม่เรียกร้องให้นานาประเทศจัดอันดับโรคจิตเสื่อมเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุข รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI...

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 เผยการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การเงิน และสังคม

เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ สนับสนุนการวินิจฉัยและการรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 ที่เผยแพร่ในวันนี้โดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI...

รายงานล่าสุดเผยทั่วโลกเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์เกิน 1% ของจีดีพีโลก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รายงานสำคัญเรื่องผลกระทบของโรคสมองเสื่อมที่มีต่อเศรษฐกิจโลกระบุว่า โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า...

สรุปข่าวเอเชียเน็ทประจำวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552

โรคอัลไซเมอร์ นิวยอร์ก: รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...

รายงานล่าสุดเผยปีหน้าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...