บทบาท กรอ.ในการเร่งพัฒนาเมล็ดพันธุ์ไทย ในวิกฤติอาหารของโลก

กรุงเทพฯ--28 ก.พ.--BRAINASIA COMMUNICATION

ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก องค์การอาหารแลกเกษตรโลก(FAO) และธนาคารโลก ได้ออกมาเตือนถึงวิกฤติขาดแคลนอาหารที่อยู่ในขีดอันตราย อันเป็นผลจากผลกระทบจากโลกร้อน ทำให้ฤดูกาลผิดเพี้ยน เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งภัยแล้งในรัสเซีย ภัยน้ำท่วมในปากีสถาน จีน ประเทศไทยและอีกหลายประเทศ ทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง ขณะที่ดีมานด์ความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งพื้นที่การเกษตรสำหรับพืชผักพืชไร่ถูกนำไปใช้ปลูกพืชพลังงานกันไม่น้อย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA)คาดการณ์ว่าปี 2554 นี้ ราคาผลผลิตการเกษตรจะพุ่งโลด ขณะที่นานาประเทศก็ได้เตรียมรับมือกับภาวะวิกฤติขาดแคลนอาหารและราคาอาหารแพง ชี้ประเทศไทยควรเร่งหันมาร่วมมือกันและเสริมบทบาทภาครัฐและเอกชนผ่าน กรอ. พร้อมเร่งปรับทิศทางการพัฒนาไทยเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซียให้เป็นรูปธรรม และทบทวนก้ไขอุปสรรคต่อการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ก่อนจะล้าหลังไปมากกว่านี้และส่งผลเสียหายต่อศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของประเทศไทย นายพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA)ซึ่งเป็นองค์กรศูนย์รวมข้อมูลวิชาการและข่าวสารความเคลื่อนไหวของเมล็ดพันธุ์ กล่าวว่า “ เบื้องหลังพืชพันธุ์ธัญญาหารและอุตสาหกรรมอาหาร ล้วนงอกงามเติบโตมาจาก สิ่งที่เราเรียกว่า เมล็ดพันธุ์ หรือ SEED ทั้งสิ้น ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เมล็ดพันธุ์ หลักๆ ที่เราผลิตส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อน สำหรับบริโภคในประเทศและส่งออก แบ่งออกเป็น 1.เมล็ดพันธุ์พืชไร่ ที่สำคัญได้แก่ ข้าวโพดพันธุลูกผสม สร้างชื่อเสียงให้ไทยในนานาประเทศเป็นอย่างยิ่ง 2.เมล็ดพันธุ์พืชผัก 3.เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ นอกจากนี้ บ้านเรายังนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชเมืองหนาว และเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ อีกด้วย เมล็ดพันธุ์ มีความสำคัญต่อชีวิตของคนไทย เศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหารของโลก ท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เคยประกาศที่จะเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของไทยเพื่อภูมิภาคโลก อีกทั้ง รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้ให้ความสำคัญสนับสนุนการเสริมสร้างประเทศไทยเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซีย และในช่วงต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมการสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA)ได้เข้าพบหารือกับท่านอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เกี่ยวกับการใช้กลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรเห็นชอบว่าเป็นกลไกที่มีอยู่แล้วและควรใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการประสานงานร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทย, หาแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับกฎระเบียบต่างๆที่ออกมาบังคับใช้ , เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเรื่องอื่นๆ ตามความเหมาะสม เพื่อการก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซียอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ” ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศทั้งร้อนและเย็น เหมาะแก่การผลิตเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรรายย่อยมีฝีมือ กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ของไทยก่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่ภาคเกษตรกรรมกว่า 30,000 ครอบครัวโดยเฉพาะในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการบรรเทาปัญหาการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในเขตเมือง และสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกและตลาดในประเทศรวม 7,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปอุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าถึงปีละ 20,000 ล้านบาท ระยะ 8 ปีที่ผ่านมา การค้าเมล็ดพันธุ์ของไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เมล็ดพันธุ์มีมูลค่าเศรษฐกิจทั้งตลาดในประเทศและส่งออกรวมประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท ไทยนับเป็นผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชมากเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก เมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด กว่าครึ่ง คือ เมล็ดพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด รองลงมาเป็นเมล็ดพันธุ์ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ พริก การส่งออกปี 53 มูลค่า 2,700 ล้านบาท คาดปี 54 ส่งออกเติบโต 15 % มูลค่า 3,100 ล้านบาท นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กล่าวว่า “ ขณะที่พื้นที่การเกษตรนับวันจะน้อยลงเรื่อยๆ เราต้องสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆในการพัฒนาเพื่อปรับปรุงเมล็ดพันธุ์พืช ที่ผ่านมาพืชเกษตรไทยหลายชนิด เช่น ข้าว มีผลผลิตต่อไร่มีระดับต่ำกว่าจีน และเวียดนาม และเกษตรกรไทยยังไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเกษตรได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นการวิจัยพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีบทบาทสูงต่อการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตต่อไร่ และช่วยร่นระยะเวลาในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเมล็ดพันธุ์จากประเทศไทย ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อไร่ ในระดับที่ดี โดยมีการกำหนดราคารับซื้อที่แน่นอนอีกด้วย เป็นต้น สภาวะตลาดโลกของเมล็ดพันธุ์ การค้าเมล็ดพันธ์ของตลาดโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าประมาณ 55,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประเทศที่ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก คือ เนเธอร์แลนด์ (มูลค่ากว่า 1,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.8) รองลงมา คือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมัน ชิลี และเดนมาร์ก จะเห็นว่าตลาดส่งออกหลักร้อยละ 60 อยู่ในสหภาพยุโรป เนื่องจากการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐและการเลือกผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อีกทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาและควบคุมเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างดี สำหรับประเทศไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์มากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 139 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อดูมูลค่าส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีกว่า 450 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ1 ในเอเชีย-แปซิฟิก โดยส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและเมล็ดพันธุ์ผัก เช่นมะเขือเทศ พริก และแตงกวาเป็นต้น คู่แข่งสำคัญ ได้แก่ จีน เนื่องจากไทยเสียเปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตและประสบปัญหาในเรื่องการลักลอบขโมยเมล็ดพันธุ์ ส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะว่าจ้างให้ไทยผลิตเมล็ดพันธุ์และหันไปสั่งซื้อจากประเทศอื่นๆ ปัญหาการละเมิดสิทธิ์,การขโมยเมล็ดพันธุ์ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ของไทย ปัญหาการละเมิดสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตรของประเทศอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลให้บริษัทผู้ลงทุนจากต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนกับไทย และหันไปลงทุนกับประเทศอื่นๆ มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนนับว่าเป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย อาศัยการได้เปรียบจากเรื่องค่าจ้างแรงงานและปริมาณเนื้อที่ที่จะใช้ในการเพาะปลูก รวมถึงความอุดมสมบูรณ์และความเหมาะสมของสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจเมล็ดพันธุ์ “ ด้านผู้ประกอบการในธุรกิจเมล็ดพันธุ์เร่งให้รัฐบาลผลักดันกฎหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ให้ออกมาใช้ในทางปฏิบัติให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ค้าทั้งไทย และต่างประเทศเกิดการมั่นใจเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองเมล็ดพันธุ์ไทย รวมทั้งควรมีการพิจารณาทบทวนกฎหมายในเรื่องของคำจำกัดความของพันธุ์พืชต่างๆ ทั้งพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชใหม่ และพันธุ์ป่า ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ในส่วนของคนไทยควรช่วยกันเสริมสร้างมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ โดยสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์จากร้านค้าที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่ทางสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ได้ออกเครื่องหมายคุณภาพ มีประมาณ 400 ร้านค้าทั่วประเทศ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย+ผลผลิตการเกษตรวันนี้

บทบาท กรอ.ในการเร่งพัฒนาเมล็ดพันธุ์ไทย ในวิกฤติอาหารของโลก

ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก องค์การอาหารแลกเกษตรโลก(FAO) และธนาคารโลก ได้ออกมาเตือนถึงวิกฤติขาดแคลนอาหารที่อยู่ในขีดอันตราย อันเป็นผลจากผลกระทบจากโลกร้อน ทำให้ฤดูกาลผิดเพี้ยน เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งภัยแล้งในรัสเซีย ภัยน้ำท่วมในปากีสถาน จีน ประเทศไทยและอีกหลายประเทศ ทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง ขณะที่ดีมานด์ความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งพื้นที่การเกษตรสำหรับพืชผักพืชไร่ถูกนำไปใช้ปลูกพืชพลังงานกันไม่น้อย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA)คาดการณ์ว่าปี 2554 นี้ ราคาผลผลิตการเกษตรจะพุ่งโลด

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ MOU ส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ — นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ โคร...

กระทรวงเกษตรฯ จับมือภาคเอกชนลงนาม MOU สานพลังประชารัฐส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ปี 2559/60 ตั้งเป้าปรับลดพื้นที่ 2 ล้านไร่ ใน 31 จังหวัด

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนด...

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระ... ภาพข่าว: พิธีลงนามและประกาศเจตนารมณ์ “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร” — พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เ...

ภาพข่าว: SEED GAMES 2011 เกมส์กีฬา สานรักสามัคคีวงการเกษตรเมล็ดพันธุ์

บริษัท เจียไต๋ จำกัด โดยนายวินิจ ชวนใช้ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และบริษัท จีเนียนเมล็ดพันธุ์(ประเทศไทย) จำกัด โดย คุณอวด ตรีโอษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด งานซี้ดเกมส์ 2011 (SEED GAMES) โดยได้เชิญร้านค้า เครือข่าย...

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย แนะการดูแลเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์...เพื่อผลผลิตที่ดี

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ ในภูมิภาคเอเชีย และเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชไร่รายใหญ่ ด้วยปริมาณการส่งออกในปี 2553 มูลค่าการส่งออก 20,400 ตัน มีมูลค่า 7,287 ล้านบาท โดยประเทศ...

องค์กรเกษตร 7 สมาคม ยื่นเสนอชะลอการบังคับใช้กฎกระทรวงฯ วอนรัฐบาลใหม่เร่งแก้พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ปี 2542 ที่เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจการเกษตร

องค์กรเกษตร 7 สมาคมและเครือข่ายเกษตรของไทย ประกอบด้วยสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) โดยนายพาโชค พงษ์พานิช ,สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย,...