ไบโอ -อินโนวารับงานวิจัยและทดลองยารายแรกในประเทศไทย ร่วมกับซินครอนผู้เชี่ยวชาญระดับโลก สนับสนุนอุตสาหกรรมยาในประเทศ

กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส

บริษัท ไบโอ-อินโนวา และ ซินครอน จำกัด เป็นเอกชนรายแรกในไทยที่มุ่งเน้นให้บริการงานวิจัยยาทางคลินิก โดยจะทำการทดลองยาในอาสาสมัครคนไทย ทั้งนี้ได้รับเทคโนโลยีด้านการวิจัยจากซินครอนผู้เชี่ยวชาญระดับโลก นอกจากนี้บริษัทยังร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และหวังขยายตลาดในภูมิภาคเอเชีย ดร.ศศิธร กิตติวรวิทย์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบโอ-อินโนวา และ ซินครอน จำกัด กล่าวว่า ไบโอ-อินโนวาจะเป็นเอกชนรายแรกในไทยที่เน้นการบริการศึกษาวิจัยทางคลินิก ชีวสมมูล เภสัชจลนศาสตร์ ชีวประสิทธิผล การวิเคราะห์ยาในเลือดและปัสสาวะ การวิเคราะห์ทางสถิติและการจัดการข้อมูล โดยบริษัทมีห้องปฏิบัติการ มีอุปกรณ์การศึกษาวิจัยที่ทันสมัยอย่างครบครัน มีผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ ที่จะดูแลอาสาสมัครทดลอง โดยได้มีการร่วมทุนร่วมกับซินครอนแห่งอินเดีย และมูลค่าการจดทะเบียนบริษัท 50 ล้านบาท อุตสาหกรรมยาในประเทศประกอบด้วยบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศ และบริษัทยาต่างประเทศที่นำเข้ายา และรวมมูลค่าตลาดยาโดยรวม 56,000 ล้านบาท และแต่ละปีบริษัทในประเทศจะมีการผลิตยาใหม่ๆ ที่หลุดสิทธิบัตร ประมาณ1,000 รายการ และบริษัทต่างประเทศก็จะนำเข้ายาใหม่ๆ ประมาณ 800 ขนานเช่นกัน บริษัทเวชภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศจะนำยาใหม่ๆ ขึ้นจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประมาณ 2,000 รายการ สำหรับการวิจัยยาทางคลินิกในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันบรรดานักวิจัยทั้งที่เป็นแพทย์ เภสัชและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ทำวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 หรือการทดลองยาในอาสาสมัครคนไทย ในโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐมาโดยตลอด ดังนั้น บริษัท ไบโอ-อินโนวา ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนจะมีส่วนร่วม และสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกของหน่วยงานในด้านระบบข้อมูล และด้านการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีวิเคราะห์ยาชนิดต่างๆ จะสามารถช่วยให้งานวิจัยยาใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมยาให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในแต่ละปีว่ารัฐบาลต้องใช้งบประมาณหาศาลในการจัดซื้อยา โดยเฉพาะยาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองหรือยาต้นแบบ (Innovator Drug) ซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นการผลิตยาชื่อสามัญหรือยาที่ไม่มีสิทธิบัตร (Generic Drug) จะเป็นวิธีที่ช่วยให้ยามีราคาถูกลง และเพื่อเป็นการประกันว่าการผลิตยาชื่อสามัญนั้นมีราคาที่เหมาะสมและมีคุณภาพเท่าเทียมกับยาต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา สำนักคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญต้องยื่นผลการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence Study) ประกอบการพิจารณาขอขึ้นทะเบียนยา ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับและประกันคุณภาพของยาชื่อสามัญ ปัจจุบันได้มีการยกระดับมาตรฐานขึ้นอีกครั้งโดยการนำมาตรฐานการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice - GCP) มากำหนดเพื่อให้ข้อมูลจากการศึกษาชีวสมมูลน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมทั้งการคุ้มครอง และให้ความมั่นใจแก่อาสาสมัครที่ร่วมโครงการทดลองยาด้วย ดร.ศศิธร กล่าวต่อไปว่า ” ธุรกิจด้านการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมด้านอาหารของประเทศไทยนับว่าประสบความสำเร็จแล้ว ในขณะที่อุตสาหกรรมยาในประเทศก็เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ไทยยังขาดแคลนด้านการศึกษาวิจัยทางคลินิกหรือการทดลองยา ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญสำหรับธุรกิจยา เครื่องสำอาง การผลิตสมุนไพรและธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพราะการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สามารถวางตลาดได้อย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก” นอกจากนี้บริษัทยังสามารถให้บริการงานวิจัยแก่อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง ผู้ผลิตสมุนไพร อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องมือแพทย์ ตลาดบริการวิจัยยาทางคลินิกทั่วโลกมีมูลค่ามหาศาลถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 360,000 ล้านบาท) จึงทำให้ประเทศต่างๆ เช่นจีน ไต้หวัน อินเดีย เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ต่างต้องการเป็นศูนย์กลางการวิจัยยาในภูมิภาคนี้ เพราะประเทศแถบเอเชียจะมีต้นทุนการวิจัยทางคลินิกต่ำกว่าประเทศอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ประเทศอินเดียกำลังมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยาระดับโลก ทั้งในด้านการวิจัยทางคลินิก เพราะมีความพร้อมหลายๆ ด้าน เช่น มีนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกที่ได้รับเทคโนโลยีด้านการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา มีค่าแรงขั้นต่ำ ตลาดยาในประเทศมีขนาดใหญ่ ประมาณ 175,000 ล้านบาท ต่อปี นอกจากนี้ยังมีบริษัทนวัตกรรมยาระดับโลกหลายบริษัททั้งบริษัทในอเมริกาและยุโรปต่างไปตั้งโรงงานที่อินเดีย อีกทั้งบริษัทค้นคว้าวิจัยชั้นนำต่างๆ ได้ตั้งฐานที่อินเดียด้วยเช่นกัน จึงเป็นข้อที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ดร.ชิพพราคาช รัชแนม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินครอน แห่งอินเดียกล่าวว่า “ด้วยประสบการณ์ด้านการวิจัยทางคลินิกของบริษัท ซินครอน ร่วมกับศักยภาพของทีมงาน บริษัท ไบโอ-อินโนว่า และ ซินครอน จำกัด ทำให้มั่นใจได้ว่า เราจะเป็นแนวหน้าของบริการด้านการวิจัยทางคลินิก ด้านเภสัชจลนศาสตร์ และด้านอื่นๆ ทั้งมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือแก่หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยที่จะผลักดันให้บริการวิจัยทางคลินิกของไทยอยู่ในระดับแนวหน้า” ซินครอนเป็นบริษัทเอกชนรายแรกในอินเดียที่ให้บริการวิจัยยาทางคลินิกตั้งแต่ปี 2541 และในปี 2549 ได้ร่วมทุนกับบริษัทพาเรเซล ผู้นำด้านการวิจัยทางคลินิกรายใหญ่รายหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซินครอนได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ให้บริการวิจัยทางคลินิกรายใหญ่ในอินเดีย ซึ่งสามารถให้บริการด้านการพัฒนายาที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอแก่บริษัทยาในประเทศและบริษัทยาต่างประเทศได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: คุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุลหรือคุณอารยา สุเทพากุล บริษัท พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส จำกัด โทรศัพท์: 0-2651 8989 ต่อ 330 หรือ 224 โทรสาร: 0-2651 9649-50 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวการศึกษาวิจัยทางคลินิก+พัฒนาศักยภาพวันนี้

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยง "Pinfenon" (S) (R) คว้าสิทธิบัตรครั้งแรกของโลก

บริษัท Scarecrow Incorporated - สิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุมการประดิษฐ์คิดค้นยารักษาและยาป้องกันโรคสำหรับลดระดับตัวบ่งชี้โรคหัวใจในสุนัข รวมถึงวิธีการผลิต - บริษัท Scarecrow Incorporated ในเขตชิบูยะ กรุงโตเกียว มีความยินดีที่จะประกาศว่า บริษัทได้รับสิทธิบัตรฉบับแรกของโลก (*) สำหรับผลิตภัณฑ์ Pinfenon (S) (R) ซึ่งเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ผลิตในญี่ปุ่น โดยครอบคลุมถึงยารักษาและยาป้องกันโรคสำหรับลดระดับฮอร์โมน Atrial Natriuretic Peptide (ANP) รวมถึงวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนี้

คอนเซปต์ เมดิคอล ได้รับสถานะ IDE รายการที่สี่ เพื่อศึกษาบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส เมจิกทัช ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงต้นขาชั้นตื้น

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) อนุมัติสถานะเครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Investigational Device Exemption หรือ IDE) ให้แก่บอลลูน...

"เม็ดอัลไลแอนซ์" เปิดรับผู้ป่วยรายแรกในสหรัฐร่วมเป็นอาสาสมัครในการวิจัย SFA SELUTION4SFA

โครงการวิจัยบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส (SELUTION4SFA) ได้เปิดรับผู้ป่วยรายแรกในสหรัฐร่วมโครงการแล้ว โดยดร.อาเธอร์ ลี (Arthur Lee) ณ สถาบันหัวใจและหลอดเลือดในฟลอริดา โครงการนี้มีขึ้นเพื่อประเมินเซลูชัน เอสแอลอาร์ ...

คอนเซปต์ เมดิคอล ได้รับอนุมัติสถานะ IDE เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสายสวนบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส "เมจิกทัช" สำหรับรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบขนาดเล็ก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) อนุมัติสถานะผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Investigational Device...

คอนเซปต์ เมดิคอล ได้รับสถานะ IDE เดินหน้าพัฒนาบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส เมจิกทัช เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดบริเวณใต้เข่า

คอนเซปต์ เมดิคอล อิงค์ (Concept Medical Inc. หรือ CMI) ได้รับสถานะผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Investigational Device Exemption หรือ IDE) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร...

เม็ดอัลไลแอนซ์เผยบอลลูนเคลือบยาเซลูชัน เอสแอลอาร์ ผ่านการรับรองสถานะ IDE จาก FDA สำหรับใช้ทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ

หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ "คอร์ดิส" (Cordis) เตรียมเข้าซื้อกิจการ "เม็ดอัลไลแอนซ์" (MedAlliance) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุดเม็ดอัลไล...

โครงการการศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเท... มหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยทางคลินิก — โครงการการศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยส่วนที่สอง (MIST2) เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมการว...

PharmaMar ได้รับอนุญาตจากสำนักงานยาสเปนให้ทำการวิจัยทางคลินิก APLICOV-PC สำหรับการใช้ยา Aplidin(R) (Plitidepsin) ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

- วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา plitidepsin ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล - Plitidepsin ...