"เบาหวาน"... รู้ไวป้องกันได้ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย

โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนที่บกพร่อง หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน หรืออาจเป็นทั้งสองอย่างร่วมกัน อินซูลินมีบทบาทสำคัญในการนำพาน้ำตาลไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญเป็นพลังงานในร่างกาย

"เบาหวาน"... รู้ไวป้องกันได้ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย

ปกติค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ < 80 - 100 มก./ดล. แต่หากเจาะเลือดโดยไม่อดอาหารแล้วพบว่าน้ำตาลเกิน 200 มก./ดล. หรืออดอาหารแล้วน้ำตาลเกิน 126 มก./ดล. นั่นแปลว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน

ผู้ที่เป็นเบาหวานระยะแรกมักไม่มีอาการ ทำให้หลายคนไม่ได้ไปพบแพทย์และพลาดโอกาสในการรักษา ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อายุ 35 ปีขึ้นไป, มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน, มีภาวะอ้วน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

ดังนั้นสังเกตให้ดี หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ อย่ารอช้า! ควรรีบพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยรักษา และรับคำแนะนำการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจากแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเป็นอันตราย

  • ทำไม? ต้องตรวจหาเบาหวาน คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2153
  • อันตรายที่ต้องรู้! ชวนทำความรู้จักสาเหตุการเกิดแผลเบาหวาน คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2514

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมCall Center 1512 ต่อ 2999Line Official : @ramhospital


ข่าวโรคเบาหวาน+o:memberวันนี้

รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ

สถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวานสูงที่สุดในโลกภายในปี 2030 ซึ่งโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและยังนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดร.อเล็กซ์ เตียว ผู้อำนวยการและฝ่ายพัฒนาการวิจัย

โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว... "เบาหวาน"... รู้ไวป้องกันได้ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย — โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนที่บกพร่อง...

โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเ... โรคเบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลสูง แต่อันตรายกว่านั้น — โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง...

การควบคุมอาหารและเลือกทานอย่างเหมาะสมในปร... กินยังไงดี?... "เบาหวาน" ไม่เพิ่ม — การควบคุมอาหารและเลือกทานอย่างเหมาะสมในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ถือเป็นวิธีสำคัญในการรักษาและป้องกันโรค...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วง ประชาชน โ... ยอดป่วยไข้หวัดใหญ่พุ่ง กรมอนามัย แนะสวมหน้ากากอนามัย-กินร้อน-ช้อนกลาง-ล้างมือ ป้องกันโรค — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วง ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้...

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบู... ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยหลัก "3 อ" — ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศ...

4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ ... 4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ — 4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ การดูแลรักษาแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสะอาด ...

กทม. ส่งเสริมความรู้-แนะนำโภชนาการ ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมคนกรุงฯ

พญ. ภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงการเร่งสร้างความตระหนักรู้และแนวทางส่งเสริมด้านโภชนาการ เพื่อควบคุมการบริโภคเกลือและโซเดียมของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า...