นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและชาว บ้าน หมู่ 16 คลองอาราง ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ นำทีมโดย พญ.ประนอม คำเที่ยง นายแพทย์ชาตรี เจริญศิริ ลงพื้นที่เพื่อประกอบการพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 พร้อมรับฟังผลการดำเนินงาน ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อเสนอแนะแก่ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมดำเนินงาน ทั้งภาคประชาสังคม เอกชน วิชาชีพ ราชการและการเมือง และเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ธรรมนูญสุขภาพบ้านคลองอาราง
นายภัครธรณ์ เทียนไชย กล่าวว่า “ความสำเร็จของบ้านคลองอารางที่ได้รับในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน และการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ศาสนา ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น องค์กรเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ที่ให้การสนับสนุน ด้านความรู้วิชาการ ประกอบกับนโยบายจังหวัดสระแก้ว ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสระแก้วเมืองแห่งความสุข 4ดีวิถีพอเพียง ประกอบด้วย คนดี เศรษฐกิจดี สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ซึ่งการนำเอาธรรมนูญสุขภาพมาเป็นมาตรการทางสังคม หรือข้อตกลงร่วมกันของสังคม มาเป็นการดูแลสุขภาวะของประชาชน และจะแนวทางพัฒนาสุขภาวะ โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพ ขยายครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด ” ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าว
พญ.ประนอม คำเที่ยง อนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่ารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ตั้งขึ้นเพื่อต้องการยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างกำลังใจให้กับคนทำงานในพื้นที่ ให้เป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีเครือข่ายที่สนใจนำธรรมนูญสุขภาพไปใช้เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม สำหรับการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพที่บ้านคลองอาราง เป็นตัวอย่างของการจัดทำธรรมนูญในระดับหมู่บ้านที่กำหนดข้อปฏิบัติชัดเจนและด้วยการตกลงร่วมกันของทุกคนในหมู่บ้าน ทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนำไปสู่ความสุข สงบ ร่มเย็น ของคนในหมู่บ้านเป็นการจัดทำธรรมนูญและการนำไปใช้ที่ได้ประโยชน์เป็นรูปธรรม
นายพัฒนา พรมเผ่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 16 คลองอาราง กล่าวถึงที่มาของธรรมนูญสุขภาพว่า จากการที่ต้องการเห็นคนในชุมชนมีความสุข จึงได้นำ “ธรรมนูญสุขภาพ” มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา มีการกำหนด “ข้อตกลงร่วม” เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งธรรมนูญสุขภาพฉบับนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของตำบล และการร่างข้อบัญญัติในธรรมนูญต้องมาจากความคิดเห็นหรือความต้องการของชาวบ้านมาเป็นส่วนสำคัญ คณะกรรมการหมู่บ้านดำเนินการร่างธรรมนูญสุขภาพขึ้นมาตามความต้องการของชาวบ้าน เพื่อให้คนในชุมชนปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ด้วยวิสัยทัศน์ของหมู่บ้านที่ว่า “หมู่บ้านคนดี วิถีออมชอม ป่าพร้อมอนุรักษ์ พิทักษ์ธรรมาภิบาล ร่วมสร้างบ้านน่าอยู่ ฟื้นฟูประเพณี สุขภาพดีล้ำ คำพ่อต้องพอเพียง”
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit