คสช.คลอดแผนปฏิบัติการรองรับ 4 ยุทธศาสตร์สกัดนักดื่มหน้าใหม่ ขึ้นภาษีสรรพสามิต-เข้มผลตรวจแอลกอฮอล์

กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

การประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช. ) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 โดยนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานการประชุม มีการพิจารณา "แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ" พ.ศ. 2555-2558 ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 และมติคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเมื่อเดือนพฤษภาคม2555 โดยมีเป้าหมายในการลดผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สร้างความเสียหายทั้งมิติทางด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) เปิดเผยว่า แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์ระดับชาติ พ.ศ.2555-2558 นี้จะใช้เป็นกรอบในการทำงานร่วมกันของหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้ง เหล้า เบียร์ ไวน์ และสุราพื้นบ้าน เนื่องจากขณะนี้พบว่าแม้ภาครัฐจะมีนโยบายในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด แต่ปริมาณการบริโภคกลับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ทั้งชายและหญิง ที่เพิ่มขึ้นถึงปีละ 2.6 แสนราย โดยนักดื่มชายมีสัดส่วนการดื่มสูงกว่านักดื่มหญิง ถึง 3 เท่าตัว อีกทั้งยังพบว่าผู้บริโภคเดิมที่เคยดื่มเพียงครั้งคราว กลายเป็นนักดื่มประจำ แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นและผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาอย่างรอบด้าน ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญใน 4 เรื่อง ครอบคลุมเรื่องการลดการบริโภคแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประเด็นหลักคือ การปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต การป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ที่จะเพิ่มขึ้น ด้วยการปรับทัศนคติของสังคมที่หลงไปกับการโฆษณาของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การลดความเสี่ยงจากการบริโภคทั้งในเรื่องปริมาณและพฤติกรรมหลังการบริโภค เน้นการบังคับใช้กฎหมายจากเดิม "เมาไม่ขับ" เป็นการ "ดื่มไม่ขับ" สุดท้ายคือ การจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ในระดับท้องถิ่นชุมชนที่จะต้องสร้างนโยบายของตนเองขึ้นมา โดยจะหวังพึ่งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ “การสนับสนุนแผนปฏิบัติการทั้ง 4 ยุทธศาสตร์จะต้องอาศัยงบประมาณทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ที่สนใจเข้าร่วมก็พร้อมสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรบุคคล" นพ.ณรงค์ศักดิ์กล่าว ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์ระดับชาติในช่วง4 ปี (พ.ศ.2555-2558) มีเป้าหมายในการควบคุมและลดปริมาณการบริโภคโดยรวมของประชากรวัยผู้ใหญ่ให้อยู่ในสัดส่วนไม่เกิน 28.5% และปริมาณการบริโภคไม่เกิน 7.71 ลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธ์ต่อคนต่อปี รวมถึงการลดจำนวนการเพิ่มขึ้นของนักดื่มหน้าใหม่อายุ 15-19 ปีไม่เกิน 12.7% ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำต่อผู้บริโภคทั้งหมด ไม่เกิน 40.67% ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสังคมตามมา แผนปฏิบัติการฉบับนี้ครอบคลุมยุทธศาสตร์ 4 ด้านประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การควบคุมการเข้าถึงทางเศรษฐศาสตร์และทางกายภาพ โดยใช้กลไกให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าราคาแพงและหาซื้อได้ยาก ซึ่งกระทรวงการคลัง จะต้องมีการใช้มาตรการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรา รวมทั้งการปรับเพดานภาษีสรรพสามิตสุราให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการควบคุมการออกใบอนุญาตและจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ 2.ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนค่านิยมและลดแรงสนับสนุนในการดื่ม โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรมประชาสัมพันธ์ ควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการอนุญาตโฆษณา รวมทั้งให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาการควบคุมการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆทางสังคม เช่น การเป็นสปอนเซอร์และกิจกรรมทางการตลาดของอุตสาหกรรมสุรา รวมถึงการทำการตลาดของสินค้าอื่นที่ใช้ชื่อและตราสัญลักษณ์ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ความสำคัญกับช่องทางการโฆษณาที่สร้างการรับรู้ต่อเยาวชน และการทำตลาดผ่านกิจกรรมสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibity : CSR) เป็นหลัก 3.ยุทธศาสตร์การลดอันตรายจากการบริโภค (Risk Reduction) เสนอให้คณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติผลักดันกฎหมาย เพิ่มบทลงโทษหรือเพิ่มพื้นที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อต่อยอดระเบียบในการห้ามบริโภคในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น บนยานพาหนะสาธารณะประเภทรถโดยสาร ในการแสดงดนตรี บริเวณทางเท้า ทางสาธารณะ ผิวจราจร รอบศาสนสถาน บริเวณใกล้สถานศึกษาและหอพัก พื้นที่การแข่งขันกีฬา การแสดงดนตรีและงานวัฒนธรรม รวมถึงเสนอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพิ่มความเข้มแข็งและสม่ำเสมอในการกวดขัน พร้อมลดระดับเพดานแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่ทั่วไปและผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอัตราการบาดเจ็บและการเกิดอุบัติเหตุ และความชุกของพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่มยังอยู่ในระดับสูง 4.ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่ มุ่งไปที่การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบราชการส่วนภูมิภาค มีศักยภาพมากขึ้นในการจัดการกับปัญหากรบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในระดับชุมชน ด้วยการออกกฎระเบียบ เช่น เทศบัญญัติเพื่อควบคุมพื้นที่ในการห้ามจำหน่ายสุรา หรือภายใต้โครงสร้างของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และสนับสนุนให้ชุมชนสามารถมีมาตรการที่สอดคล้องกับบริบทของตนเองได้ “ในโอกาสนี้อยากจะเชิญชวนทุกภาคี ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์ระดับชาติฉบับนี้ร่วมกัน เพื่อช่วยกันลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” นพ.สมานกล่าว ที่ประชุม คสช.มีการอภิปรายเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง มีความห่วงกังวลว่า การระบาดของ เหล้าปั่น ซุ้มยาดอง จะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่น เนื่องจากเป็นการเพิ่มนักดื่มหน้าใหม่ รวมทั้งมีข้อสังเกตให้เพิ่มเน้นความเข้มงวดในการปราบปราม ตรวจจับ บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น การจำหน่ายนอกเวลา การจำหน่ายแก่เยาวชน รวมทั้งมีมาตรการลงโทษผู้กระทำผิด และให้รางวัลจูงใจแก่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติตามหน้าที่ด้วย และในท้ายที่สุดที่ประชุมคสช.มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการดังกล่าว เตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป-นท-

ข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ+เครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉา... สู่ทศวรรษที่สอง 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ นโยบายสาธารณะเพื่อปฏิรูปสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน — เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ ประกาศ...

พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุ... รวมพลังเคลื่อน 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ’ วางเป้า ๑๐ ปี พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข — พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งช...

เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑... เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ — เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ 'เพิ่มกิจกรรมทางกา...

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้... ภาพข่าว: สู่ทศวรรษใหม่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 — นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุ...

เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก จัดงาน “การประชุมพิจารณามาตรการการควบคุมโซเดียมในอาหาร”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก ได้ร่วมมือกันในการผลักดันการลดการบริโภคโซเดียมตามความมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในเรื่องการลดบริโภค...