คสช. แนะรัฐบาลนำมติสมัชชาสุขภาพ แก้อุบัติเหตุ-ขับห้ามแอลกอฮอล์ในเลือดเป็น 0 มล.

กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--คสช.

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ผลักดันมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนไปดำเนินการอย่างเข้มข้น จี้รัฐบาลห้ามผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภทดื่มสุรา ท้าทายรัฐตั้งเป้าลดสถิติลง 50% ในปี 63 ด้าน ศวปถ.เผยตัวเลขอุบัติเหตุรถปิ๊กอัพแนวโน้มพุ่ง ขณะที่เยาวชนดื่มสุราขับรถจักรยานยนต์เสียชีวิตมากขึ้น แนะมาตรการแก้ปัญหาต้องทำต่อเนื่อง นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 เรื่อง “การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน” ที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 23 เม.ย.2553 ว่า ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนนับเป็นปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนมากที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จะเห็นได้จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วง 7 วัน ในเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุ 3,516 ครั้ง มีความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ โดยประชาชนเสียชีวิตสูงถึง 361 คน บาดเจ็บ 3,802 คน แม้อัตราจะลดลงจากปีที่แล้ว แต่ก็ยังเป็นโจทย์สำคัญที่ท้าทายต่อทุกภาคส่วนในการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุบนถนนให้เหลือน้อยที่สุด ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนถนนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง คิดเป็นอัตราผู้เสียชีวิตสูงถึงปีละ 17.7 คนต่อประชากรแสนคน ดังนั้นสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจากทั่วประเทศ จึงมีฉันทามติในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมกับทุกภาคส่วน ร่วมมือกันแก้ปัญหาจริงจังและต่อเนื่อง โดยมติสำคัญ คือ ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงาน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดนโยบายและมาตรการ ให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ให้มีการสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ เสนอให้มีการเพิ่มระบบขนส่งสาธารณะเป็นร้อยละ 30 ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะเมืองในภูมิภาค และมาตรการที่สำคัญคือการลดระดับเพดานปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ยานพาหนะมีค่าไม่มากกว่า 0 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2554 และตั้งเป้าอุบัติเหตุและเสียชีวิตในปี 2563 ลดลงร้อยละ 50 ของอัตราที่เกิดในปี 2553 นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ตั้งเป้าลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงร้อยละ 5 ด้วย 8 มาตรการเน้นหนัก เช่น ด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ด้านการตรวจสอบความปลอดภัยของถนนและรถยนต์ ด้านการช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย ด้านการจราจรและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก เป็นต้น ประกอบกับจากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2553 เป็นปีแห่งความปลอดภัยทางถนน กระทรวงคมนาคมจึงได้เพิ่มมาตรการในช่วงสงกรานต์ อาทิ การเข้มงวดกับผู้ขับรถโดยสารสาธารณะที่ต้องมีแอลกอฮอล์ = 0 mg/dl การกำหนดจุดพักรถทุก 200 กม. เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาร่วมรณรงค์เหมือนที่ผ่านมา และยังเพิ่มรูปแบบการรณรงค์ในรูปแบบอื่นเช่น โครงการฝากเหล้าไว้กับตำรวจของสำนักงานองค์กรงดเหล้า (สคล.) เป็นต้น ทำให้ภาพรวมของผู้เสียชีวิตปีนี้ ลดลง 3.22% จากในปี 2552 แม้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ก็สามารถลดความสูญเสียลงได้อย่างมหาศาล และหากพิจารณาจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 4 ปี ที่ผ่านมา จะพบว่าคงตัวอยู่ที่ 361-373 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 52 ราย/วัน โดยมีแบบแผนของการเกิดอุบัติเหตุเหมือนเดิม ตั้งแต่ สาเหตุหลัก ยานพาหนะ ช่วงเวลา กลุ่มอายุ ฯลฯ แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่ดาเนินการอยู่ไม่เพียงพอที่จะลดการเสียชีวิต” นายแพทย์ธนะพงศ์กล่าว “นอกจากนั้นยังพบว่า การเสียชีวิตของผู้ขับขี่และโดยสารรถปิกอัพ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยในกลุ่มผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 58.6 มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุรา ประเด็นที่น่าห่วงใย คือ เกือบ 1 ใน 4 ของผู้เสียชีวิต เป็นเด็กและเยาวชน จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กและ เยาวชนเหล่านี้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะผู้เสียชีวิตเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปี (พบถึงร้อยละ 7.1) ซึ่งทางกฎหมายจะไม่อนุญาตให้กลุ่มนี้ขับขี่รถจักรยานยนต์ นอกจากนั้น ผู้เสียชีวิตร้อยละ 59.3จะเป็นผู้ขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งใกล้เคียงกับสงกรานต์ปี 2552 (ร้อยละ 58.9) คู่กรณีที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจะเป็นรถปิกอัพเป็นส่วนใหญ่ และพบว่าเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 91) ไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาการเกิดอุบัติเหตุยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยเรา และเชื่อมั่นว่าหากรัฐบาลดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่ คสช. ให้ความเห็นชอบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะทำให้ปัญหานี้ลดลง และจะลดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สินของประชาชนและของประเทศลงได้อย่างแน่นอน” นายแพทย์ธนพงศ์ กล่าวเพิ่มเติม ประสานงาน : งานสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พลินี เสริมสินสิริ (แตงโม) 02-590-2307 เขมวดี ขนาบแก้ว (ปูน) 02-590-2301 ธนิษฐ์ สุคนธนิกร (ต๊ะ) 02-590-2483 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ชั้น 2 อาคาร 88/37 ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี โทรศัพท์ 02-590-2307 , 02-590-2313 โทรสาร 02-590-2311 www.nationalhealth.or.th ติดตามรับชมสถานีวิทยุและโทรทัศน์สุขภาพแห่งชาติ www.healthstation.in.th สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

ข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ+อุบัติเหตุบนท้องถนนวันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉา... สู่ทศวรรษที่สอง 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ นโยบายสาธารณะเพื่อปฏิรูปสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน — เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ ประกาศ...

พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุ... รวมพลังเคลื่อน 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ’ วางเป้า ๑๐ ปี พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข — พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งช...

เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑... เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ — เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ 'เพิ่มกิจกรรมทางกา...

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้... ภาพข่าว: สู่ทศวรรษใหม่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 — นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุ...

เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก จัดงาน “การประชุมพิจารณามาตรการการควบคุมโซเดียมในอาหาร”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก ได้ร่วมมือกันในการผลักดันการลดการบริโภคโซเดียมตามความมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในเรื่องการลดบริโภค...